เอกสารโบราณ

ตัวอักษร : ขอมไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ (39 หน้า)

RBR007-003 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดบางกระ , ราชบุรี , เอกสารโบราณ , ตำรายา , เวชศาสตร์ , สมุนไพร , รักษาโรค , ศมส. , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ

สมุดไทยขาวกล่าวถึงโรคและตำรับยาในการรักษาโรค อาทิ ยาบำรุงธาตุ ยาบำรุงเลือด ยาแก้สันนิบาต ยาทาองคสูตร ยาพอกองคสูตร ยามุตกิต ยาแก้ไข้ออกดำออกแดง ยาสังวาลย์พระอินทร์ ยามหาเมฆใหญ่ ยาแก้ไข้ลากสาด ยาแปรออกดำออกแดง ยาแก้ฟกบวม ยาแก้ฟองสมุทร ยามหาเมฆ ยามหานิล ยาแก้ประโดง ยาแก้ปากเปื่อย ยาแก้สลบ ยาแก้คัน ยาแก้คางแข็ง ยานัตถุ์ ยาสารีบาต ยาลมอัคมูขี ยาบรรลัยจักรใหญ่ ยาตานขโมย เป็นต้น

RBR007-002 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดบางกระ , ราชบุรี , เอกสารโบราณ , ตำรายา , เวชศาสตร์ , สมุนไพร , รักษาโรค , ศมส. , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ

สมุดไทยขาว กล่าวถึงอาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรค อาทิ ยาแก้ลมซาง อาการซางทั้ง 7 วัน ยาแก้ซางตัวร้อน ยาเหลืองใหญ่ ยาเหลืองน้อย ยาตานขโมย ยาตรีผลาใหญ่ ยาทองเนื้องาม ยาแก้ลงท้อง ยารุซาง ยามหานิลใหญ่ ยาทองแนบเนื้อ ยาแดง ยามหาจักร ยาเหลือง ยาดำ ยาแดง ยาเขียว ยาหม้อใหญ่แก้คุณไสย ยาพอกแก้คุณผีคุณคน ยามหานิลน้อย ยาอุปทม เป็นต้น

RBR007-001 ตำรายาและตำราโหราศาสตร์

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ตำรายา , สมุดไทยขาว , เอกสารโบราณ , วัดบางกระ , ราชบุรี , ยารักษาโรค , สมุนไพร , ตำราห่วง , โหราศาสตร์

สมุดไทยขาวมีหลายลายมือ เริ่มด้วยการกล่าวคาถาของฤาษีตาไฟ จากนั้นกล่าวถึงลักษณะไข้สามประการ จากนั้นกล่าวอาการของไข้ต่างๆ และยาสำหรับรักษาโรค เช่น ยาแก้ไข้สารพัดลม ยาปิดแผลทั้งปวง ยาทาแผล ยาพยาธิ ยาแก้ซาง เป็นต้น จากนั้นเป็นตำราโหราศาสตร์ เช่น การดูยามสามตา การดูวันดีวันร้าย เป็นต้น

SAC003-001 ตำรายาและตำราห่วง

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
วัดทุ่งเนินพยอม , สุโขทัย , ศมส. , แผนเส้น , ตำรายา , ห่วง , ตำราห่วง , โหราศาสตร์

ต้นฉบับเป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยอักรไทยและขอมไทย เนื้อหาส่วนใหญ๋เป็นตำรายากล่าวถึงแผนเส้น รูปผู้ชาย ส่วนหน้าปลายมีภาพแผนเส้น และตำราห่วง

SKN001-052 มงคลทีปนี ผูก 2

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด

มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต

SKN001-050 พระจุฬวัคค ผูก 9

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ขอมไทย , ล่องชาด

คัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค)จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย

RBR003-070 ตำราทำนายพยากรณ์

ตำราโหราศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , โหราศาสตร์ , ตำราทำนายฝัน , ตำราดูสัตว์ขึ้นเรือน , ตำราทำนายบุตรในครรภ์ , ตำรานาคให้น้ำ , ตำราอุทิศฤกษ์ , ตำราดูฤกษ์ดี-ร้าย , ตำราวัวสุภราช , ตำราดูเกณฑ์น้ำเกณฑ์ฝน , ตำราดูโชค , ตำราแม่โพสพ , ตำราดูพระเคราะห์เคลื่อน , ตำรานาควัน , ตำราผีหลวง , ตำรานาคดูของหาย , ตำรากรุงพาลี ตำราแรกนา

สมุดไทยบันทึกตำราโหราศาสตร์ ทำนาย พยากรณ์ ต่าง ๆ เช่น ตำราทำนายฝัน, ตำราดูสัตว์ขึ้นเรือน, ตำราทำนายบุตรในครรภ์, ตำรานาคให้น้ำ, ตำราอุทิศฤกษ์, ตำราดูฤกษ์ดี-ร้าย, ตำราวัวสุภราช, ตำราดูเกณฑ์น้ำเกณฑ์ฝน, ตำราดูโชค, ตำราแม่โพสพ, ตำราดูพระเคราะห์เคลื่อน, ตำรานาควัน, ตำราผีหลวง , ตำรานาคดูของหาย, ตำรากรุงพาลี ตำราแรกนา ฯลฯ

NPH001-036 สู่ขวัญข้าวในเล้า

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.