สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึง การทำนายทายทักฤกษ์ยาม วันเดือนปี วันดีวันร้าย โชคลาภ การทำกิจธุระต่าง ๆ ของทั้งหญิงและชาย อาทิ การทำไร่ไถนา การทำสวน การค้าขาย การทำนายคู่ครอง การฝังเสาปลูกเรือน เป็นต้น
ตำรายันต์ต่างๆ เช่น ยันต์จักพรรดิตราธิราช ยันต์ตะกรุดโทน ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์ลงผ้าเช็ดหน้า เขียนด้วยอักษรไทย และอักษรขอมไทย ด้านท้ายเขียนกลับด้าน บางแห่งเขียนด้วยอักษรธรรมอีสาน
การเดินทางของพระมาลัย เพื่อไปโปรดสัตว์ในนรก และเทวดาบนสวรรค์ ซึ่งได้พบกับพระอินทร์ และเทวดาผู้ที่จะจุติลงมาเป็นพระศรีอาริยเมตไตรในอนาคต
คัมภีร์ใบลานเรื่องที่นำมาศึกษาในครั้งนี้เป็นเอกสารที่เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้รับบริจาคมาจากนายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ คัมภีร์ใบลานเรื่อง NPH001-060 สู่ขวัญควาย เป็นใบลานขนาดสั้นเรียกว่า ใบลานก้อม สภาพเอกสารชำรุดเล็กน้อย ขอบลานขาดแหว่งแต่ไม่มีผลกระทบต่อการอ่าน ตัวอักษรชัดเจน จารด้วยตัวอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทยถิ่นอีสาน พิธีกรรมสู่ขวัญควาย เป็นการปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ ตลอดจนเป็นการขอขมาโทษต่อควายที่ได้ใช้งานหนักหรือเฆี่ยนดีมาโดยตลอดในช่วงของการทำไร่ไถนาที่ผ่านมา โดยเนื้อหากล่าวถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปจนถึงขั้นตอนในการประกอบพิธี ------ ข้อมูลอ้างอิง “สู่ขวัญควาย : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4778-4782.
วัดคงคารามสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงธนบุรี ตามประวัติกล่าวว่า เจ้าเมืองรามัญ 7 เมือง ได้แก่ พระสมิงสิงหบุรินทร์ เมืองสิงห์ พระนินนะภูมินบดี เมืองลุ่มสุ่ม พระชินติฐบดี เมืองท่าตะกั่ว พระนิโครธาภิโยค เมืองไทรโยค พระปนัสติฐบดี เมืองท่าขนุน พระเสลภูมิบดี เมืองทองผาภูมิ และพระผลกติฐบดี เมืองท่ากระดาน รวมถึงครอบครัวชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดคงคารามขึ้นเป็นวัดกลาง เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมในการร่วมทำสังฆกรรมของสงฆ์แบบรามัญนิกายในวันเข้าและออกพรรษาของทุกปี อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของชาวมอญในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษามอญว่า “เภี้ยโต้” แปลว่าวัดกลาง และเป็นชื่อวัดหนึ่งในเมืองมอญ ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 พระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ขุนนางไทยเชื้อสายมอญได้นิมนต์พระราชาคณะฝ่ายรามัญนิกายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดคงคารามเจริญรุ่งเรืองถึงขั้นสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 4 พระครูรามัญญาธิบดี เจ้าอาวาสเป็นที่เคารพนับถือมาก กิจกรรมต่างๆ ของวัดได้รับการอุปถัมภ์โดยเจ้าจอมมารดากลิ่นในรัชกาลที่ 4 และทูลเกล้าฯ ถวายให้เป็นพระอารามหลวง ซึ่งได้รับพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดคงคาราม” สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคารามนั้น ก่อตั้งในปี 2542 โดยใช้กุฏิ 9 ห้อง ซึ่งเป็นเรือนไม้ทรงไทยที่ใหญ่และงามที่สุดแห่งหนึ่ง จัดเป็นที่แสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่ล้ำค่าอันเป็นสมบัติของวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น โลงมอญอายุกว่า 200 ปี แกะสลักลายดอกพุดตานลงรักปิดทองประณีตงดงาม คัมภีร์ใบลานและสมุดไทยที่จารเป็นภาษามอญจำนวนมาก หีบและตู้พระธรรม เครื่องปั้นดินเผาศิลปะมอญแกะสลักลวดลายวิจิตรหาชมได้ยากในปัจจุบัน เครื่องมือช่างสมัยโบราณ หนังช้างอานม้าลงรักปิดทอง ตาลปัตรพัดยศรูปทรงงดงาม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชาวมอญ เครื่องถ้วยลายคราม เครื่องทองเหลือง เป็นต้น ปี 2553 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ร่วมงานกับวัดคงคารามเมื่อครั้งจัดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “สยามใหม่จากมุมมองท้องถิ่น” ต่อมาปี 2554 ศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ผ้าห่อคัมภีร์ เพื่อยืดอายุของผ้าในฐานะเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางด้านศิลปะและพลังศรัทธาของชุมชน โดยมีผู้ทรงความรู้เรื่องผ้ามาให้ความรู้และปฏิบัติการในการอนุรักษ์ผ้าอย่างง่ายให้กับชาวบ้าน ทั้งการเก็บรักษาผ้าให้คงสภาพดีด้วยวิธีการม้วนผ้ากับแกนเพื่อไม่ให้เส้นใยผ้าหักงอ การจัดแสดงผ้าด้วยการตรึงผ้ากับกรอบไม้ และการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผืนผ้าด้วยการทำผ้าดามหลัง รวมทั้งการซ่อมแซมผ้าซึ่งมีทั้งวิธีการตามหลักการอนุรักษ์ และวิธีแบบพื้นบ้านผสมผสานกัน ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากลุงป้าน้าอาชาวคงคารามเป็นอย่างดี และการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ผ้าห่อคัมภีร์นี่เอง ทำให้ ดอกรัก พยัคศรี นักวิชาการฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ (ในขณะนั้น) ที่มีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมด้วย พบว่านอกจากผ้าห่อคัมภีร์ที่น่าสนใจแล้ว ตัวเอกสารโบราณที่ถูกเก็บรักษาไว้ก็มีความน่าสนใจ น่าศึกษา สมควรที่จะอนุรักษ์เอกสารโบราณในรูปแบบของสำเนาดิจิทัล และเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่เอกสารโบราณเหล่านี้ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเอกสารโบราณได้ง่ายขึ้น ปี 2559 ทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ จึงทำหนังสือขออนุญาตเพื่อทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ ทีมงานได้พบพระอนุวัฒน์ สุจิตฺโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระเจี๊ยบ ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พระเจี๊ยบให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าก่อนหน้านี้มีหน่วยงานของรัฐ คือ กลุ่มงานหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เข้ามาสำรวจ ชำระ แยกประเภทและจัดหมวดหมู่เอกสารโบราณของวัดคงคารามไว้อย่างดีมาก และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ และได้อาจารย์พิศาล บุญผูก ผู้เชี่ยวชาญอักษรและภาษาโบราณมาช่วยอ่านแปลชื่อเรื่องให้ ซึ่งเป็นคุณูปการแก่วงวิชาการอย่างสูง อ้างอิงข้อมูลจาก 1) ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลคลองตาคต, สืบค้นจาก http://www.klongtakot.go.th/general1.php 2) แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม 3) รีวิวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม, ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศมส. https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/435
วัดบ้านโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 11 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 6 แปลง เนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ที่มาของชื่อวัด มาจากภายในบริเวณมีต้นโพธิ์ขึ้นเยอะ ชาวบ้านจึงนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อวัดที่เรียกว่า วัดบ้านโพธิ์ วัดบ้านโพธิ์ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2417 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2482 วัดบ้านโพธิ์ เป็นวัดที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องคฺการมหาชน) เคยมาสำรวจครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2555 และครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 สิงหาคม 2562 และมาทำทะเบียน ทำสำเนาดิจิทัลเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562 และ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา พระอธิการบุญสม นาถสีโล เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ท่านพาคณะสำรวจประกอบด้วย นายดอกรัก พยัคศรี (นักวิชาการ) นายสมศักดิ์ แก้วนุช (เจ้าหน้าที่ประสานงาน) นางสาวนิสา เชยกลิ่น (เจ้าหน้าที่ฐานข้อมูล) และนายศุภกรานต์ พุ่มพฤกษ์ (เจ้าหน้าที่โสตทัศน์) ได้ไปลงพื้นที่วัดบ้านโพธิ์ จังหวัดราชบุรี ไปดูเอกสารโบราณที่เก็บเอาไว้ในห้องเก็บของใต้ถุนศาลาการเปรียบ ซึ่งเต็มไปด้วยข้าวของที่ชาวบ้านเอามาทำบุญเช่น หลอดไฟ กรอบรูป หนังสือ ธูปเทียน พัดลมที่ชำรุด เป็นต้น ขาวของเหล่านี้วางทับอยู่บนกล่องที่ใส่คัมภีร์ใบลานที่วางไว้กับพื้น คัมภีร์ใบลานของวัดนี้มีความเสี่ยงในเรื่องความชื้น และน้ำท่วมได้ คัมภีร์ใบลานชุดนี้เก็บไว้ที่จุดเดิมตามข้อมูลที่ฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ เคยจ้างสำรวจเมื่อ พ.ศ.2555 โดยมีกล่องไม้ใส่คัมภีร์ใบลานประมาณ 15 กล่อง กล่องไม้ที่มีใบลานประมาณ 6 กล่อง กล่องไม้เป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิด กล่องหนึ่งสามารถใส่ใบลานได้ 5-6 ผูก ขึ้นอยู่กับความหนาของเรื่องนั้นๆ ไม่มีลวดลาย ด้านในกล่องไม้บางกล่องพบข้อความที่เขียนเป็นภาษาไทยระบุว่า ใครเป็นผู้สร้างคัมภีร์ เป็นต้น บางกล่องพบผ้าห่อคัมภีร์แม้จะเปื่อยไปตามกาลเวลาแต่ยังคงสีสันสดใสให้เห็น เนื่องจากถูกปล่อยปละละเลยเป็นเวลานาน ประกอบกับสถานที่เก็บรักษาไม่เอื้ออำนวย มีความชื้นสูง ทำให้สภาพเอกสารบางส่วนอยู่ในสภาพชำรุด ชื้น กรอบ มีเศษฝุ่น ขี้จิ้งจก เศษไข่จิ้งจก และรอยแมลงกัดแทะ พระอธิการบุญสม นาถสีโล อนุญาตให้คณะสำรวจทำทะเบียน ถ่ายภาพเอกสารโบราณ และสามารถเผยแพร่เอกสารโบราณของวัดในเว็บไซต์ฐานข้อมูลฯ ได้ การทำความสะอาดเอกสารโบราณ เริ่มจากกำจัดสิ่งสกปรกออกจากตัวเอกสาร ส่วนผ้าห่อคัมภีร์ที่พบแยกไว้อีกส่วน ปัญหาที่พบคือใบลานติดกับเป็นปึก ต้องใช้เวลาและความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการแกะออกมา ถึงแม้ว่าใบลานจะมีความชื้นสูงแต่ก็มีความกรอบเช่นกัน หากไม่ระวังอาจทำให้ใบลานหักได้ หลังจากที่แกะใบลานออกเป็นใบๆ แล้ว นำไปเช็ดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% ที่ละใบ จากนั้นผึ่งลมให้แห้ง ก่อนจะนำไปทำทะเบียน ถ่ายภาพเอกสารโบราณ จากนั้นนำมาจัดหมวดหมู่ ทำป้ายชื่อกำกับ และห่อผ้า ส่วนคัมภีร์ที่ไม่สมบูรณ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น ทำความสะอาด ห่อให้เรียบร้อย แต่ไม่มีได้การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารชุดที่ชำรุดนั้น อ้างอิงข้อมูล ประวัติวัดบ้านโพธิ์. จาก https://www.lovethailand.org/travel/th/13-วัดบ้านโพธิ์.html.
คอลเลกชั่นพิเศษของคุณมนัสวี ผู้ได้รับมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นอันเป็นเอกสารตัวเขียน ท่านได้เล่าถึงที่มาที่ไปเอกสารชุดนี้ว่าเป็นของคุณปู่ ท่านประกอบอาชีพเป็นครูสอนศาสนานิกายซุนนีห์ จึงมีเอกสารเกี่ยวกับศาสนาอิสลามจำนวนหนึ่ง คุณมนัสวีเล่าให้ฟังต่อว่า “สมัยนั้นยังไม่มีความสนใจในเรื่องเหล่านี้จึงไม่เคยสอบถามอะไรไว้ และคุณปู่ก็เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ.2475 น่าเสียดายเป็นอย่างมากที่ได้เรื่องราวใด ๆ ไว้” ส่วนเอกสารโบราณเหล่านี้คุณมนัสวีไปพบที่บ้านหลังเก่าของคุณปู่ ถูกเก็บไว้ในห้องใต้หลังคา บ้านหลังนั้นไม่ได้รับความเสียหายจากระเบิดในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ทำให้เอกสารโบราณเหล่านี้ไม่ได้รับความเสียและถูกค้นพบในเวลาต่อมา เอกสารตัวเขียนถูกเก็บไว้ในหีบไม้ เอกสารบางส่วนมีรอยเปื้อนซึมน้ำ ทำให้เอกสารโบราณติดกันเป็นปึกแกะไม่ออกบ้าง บางส่วนหลุดออกมาเป็นแผ่น ๆ แต่สภาพโดยรวมยังถือว่าเอกสารโบราณอยู่ในสภาพดี โดยเอกสารที่พบเป็นสมุดไทยขาว 1 เล่ม อักษรไทยและอักษรอาหรับ กล่าวถึงข้อปฏิบัติตามหลักของศาสนาอิสลาม เช่น การชำระล้างร่างกาย การละหมาด การถือศีลอด เป็นต้น ส่วนสมุดฝรั่งนั้นมีหลายเล่ม จึงขอยกเล่มที่น่าสนใจ อาทิ คัมภีร์อัลกุรอาน อักษรอาหรับ การตกแต่งด้วยการลงสีอย่างสวยงาม และเย็บกี่เข้าเป็นเล่มเดียวกัน เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานบางแห่งจะจัดเก็บเป็นเล่มเล็ก ๆ แยกเฉพาะบทเท่านั้น อาจเป็นในเรื่องความสะดวกในการหยิบมาใช้ หรือการพกพาก็เป็นได้
“วัดหนัง” หรือ “วัดหนังราชวรวิหาร” ตามประวัติวัดนั้นสร้างเมื่อ พ.ศ.2260 หรือช่วงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ สมัยก่อนแถววัดหนังอยู่เขตอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เมื่อรวมธนบุรีเข้ามาเป็นกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก วัดหนังก็ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ยังปรากฏป้ายเก่าของวัดขณะที่ยังสังกัดจังหวัดธนบุรีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของวัด วัดหนังเป็นวัดเก่าแก่ในย่านนี้ และมีวัดในแถบใกล้ๆ กันอีกหลายวัดจนมีเรื่องเล่าว่า วัดในแถบนี้มีวัดสามพี่น้องคือ วัดหนัง วัดนางนอน และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และที่ใกล้กันนั้นก็มีวัดศาลาครึนด้วย วัดนางนองราชวรวิหารและวัดราชโอรสารามราชวรวิหารนั้นบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งศิลปะที่ปรากฏอยู่ที่วัดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบจีน ส่วนวัดหนังนี้พระราชมารดาของรัชกาลที่ 3 ทรงให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนังขึ้นใหม่ แต่ให้มีความเป็นไทยผสมอยู่มากกว่าวัดนางนองและวัดราชโอรสารามฯ แต่ก็ยังมีศิลปะแบบจีนปนอยู่บ้าง พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาเรียนรู้ วิถีชีวิต และประวัติความเป็นมาของพื้นที่ย่านเขตจอมทอง คิดริเริ่มและลงมือจัดทำช่วง พ.ศ.2545 สมัยพระธรรมศีลาจารย์เป็นเจ้าอาวาส โดยมีพระครูสมุห์ไพฑูรย์ สุภาฑโร (ปัจจุบันลาสิกขาบทแล้ว) และบรรดาลูกศิษย์ในย่านวัดหนังช่วยกันก่อตั้งและจัดหาวัตถุจัดแสดง
การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย : การรับบริจาคข้อมูลสำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ เป็นแนวทางการดำเนินเพื่อให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือกันอนุรักษ์ เผยแพร่ ต่อยอด และสร้างสรรค์เอกสารตัวเขียนอันเป็นมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของประเทศไทย
รองศาสตราจารย์ จักรพันธ์ วิลาสินีกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และคณะเจ้าหน้าที่ ศมส. ให้การต้อนรับผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านเอกสารตัวเขียนและข้อมูลชุมชน
นายทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล ผู้จัดการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตัวแทนรับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนในโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการฯ
รายงานการทำทะเบียนและสำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนของชาวมุสลิม ชุมชนมัสยิดหลวงอันซอริซซุนนะห์ (บางกอกน้อย) กรุงเทพฯ
กระบวนการที่ส่งเสริมและอนุรักษ์เอกสารตัวเขียนให้คงอยู่ต่อไปนั้น มีหลายวิธีการทั้งการส่งเสริมให้สาธารณชนตระหนักถึงคุณค่าของเอกสารตัวเขียน การจัดอบรมการอนุรักษ์และดูแลรักษาเอกสารตัวเขียน การจัดเวทีเสวนาวิชาการ และการจัดทำสำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนและเผยแพร่ในเว็บไซต์ก็เป็นการอนุรักษ์เอกสารตัวเขียนรูปแแบบหนึ่ง ส่งเสริมให้สาธารณชนเข้าถึงข้อมูลเอกสารชั้นปฐมภูมิ เป็นมรดกภูมิปัญญา อีกทั้งใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลและเป็นหลักฐานสำคัญกรณีเอกสารตัวเขียนถูกโจรกรรมได้อีกด้วย