ศมส. รับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนจากโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย”

ศมส. รับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนจากโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย”
ผู้เขียน :
นิสา เชยกลิ่น
คำสำคัญ :
วันที่เผยแพร่
27 มิถุนายน 2568

25 มิถุนายน 2568

นายทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล ผู้จัดการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตัวแทนรับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนในโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการฯ และอาจารย์ดอกรัก พยัคศรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นตัวแทนส่งมอบไฟล์สำเนาดิิจิทัลเอกสารตัวเขียนสำหรับนำเข้าฐานข้อมูลเอกสารตัวเขียนในประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่วงการศึกษา วิจัย การต่อยอดองค์ความรู้ด้านเอกสารตัวเขียนของประเทศไทยให้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเอกสารตัวเขียนได้อย่างไม่จำกัด และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

โครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ.2566 ริเริ่มจากแนวคิดของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ราชบัณฑิต สาขาวรรณกรรมพื้นเมือง ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม และที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ ที่มีความกังวลและห่วงใยต่อเอกสารตัวเขียนเหล่านี้ที่กำลังประสบภัยคุกคามทั้งจากภัยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ และได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

โครงการวิจัยฯ นี้เป็นความร่วมมือของเครือข่ายสถาบันระดับอุดมศึกษาใน 4 ภูมิภาค จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพหลัก มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกันสำรวจเอกสารตัวเขียนทั่วประเทศ ทำทะเบียน และจัดทำสำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียน นอกจากนี้ยังพัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในการอนุรักษ์และเก็บข้อมูลจากเอกสารตัวเขียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารตัวเขียนอันเป็นมรดกภูมิปัญญาของประเทศชาติ

ขอขอบคุณข้อมูลจากรองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล https://www.facebook.com/aphilakk

อ้างอิง

นิสา เชยกลิ่น. (2568). ศมส. รับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนจากโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” สืบค้น 01 กรกฏาคม 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารตัวเขียนในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/event-detail.php?id=158
นิสา เชยกลิ่น. ศมส. รับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนจากโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/event-detail.php?id=158. (วันที่ค้นข้อมูล : 01 กรกฏาคม 2568)
นิสา เชยกลิ่น. ศมส. รับมอบไฟล์สำเนาดิจิทัลเอกสารตัวเขียนจากโครงการวิจัย “การสำรวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติและหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย” สืบค้นเมื่อ 01 กรกฏาคม 2568. http://manuscripts.sac.or.th/event-detail.php?id=158