พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.
สู่ขวัญข้าวในเล้า (NPH001-036). (2566). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1144
สู่ขวัญข้าวในเล้า (NPH001-036). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1144. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
สู่ขวัญข้าวในเล้า (NPH001-036). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1144