สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพได้ริเริ่มจัดทำโครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทย โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - 2555 เพื่อทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ อนุรักษ์ และจัดแสดงนิทรรศการจากเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สุขภาพไทย และเป็นแหล่งให้การสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมสุขภาพ ตลอดจนให้บริการเอกสารสำคัญแก่สาธารณชน สำหรับเอกสารโบราณที่นำมาดิจิไทซ์และเผยแพร่ในครั้งนี้คือ เอกสารโบราณส่วนบุคคลที่นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ แพทย์แผนโบราณ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคและใช้ยาสมุนไพรในการบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยนายทองอ่อนถือเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรกของตำบลหนองบัว อำเภอฝาง จังหวัดขอนแก่น และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
ประวัติของนายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ เกิดเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2458 ณ บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่ออายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในระหว่างนั้นก็ศึกษาวิชาการนวดและสมุนไพรด้วย โดยอาจารย์ที่สอนมาจากราชสำนัก เมื่อ พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลก สมเด็จพระวรรณรัตน์จึงให้ทุกคนกลับไปพำนักยังภูมิลำเนาเดิม นายทองอ่อนจึงได้กลับมาอยู่ที่บ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ช่วยดูแลชาวบ้านด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา จน พ.ศ. 2488 ได้ลาจากอุปสมบท พ.ศ. 2491 ได้เป็นแพทย์ประจำตำบลหนองบัว นับเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรก (รวมเวลา 27 ปี) พ.ศ. 2497 และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข นายทองอ่อนเป็นแพทย์แผนโบราณที่ตรวจรักษาคนไข้ด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ นอกจากนี้ยังสอนหนังสือเกี่ยวกับแพทย์แผนโบราณให้กับผู้สนใจศึกษาหาความรู้ เป็นวิทยากรที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันการแพทย์แผนไทย ทั้งยังส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการแพทย์แผนโบราณอีกด้วย เมื่อเข้าสู่วัยชรา ร่างกายก็อ่อนแรงตามวัย อาการป่วยกระเสาะกระแสะ จนเสียชีวิตอย่าสงบที่บ้านพัก วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สิริรวมอายุ 97 ปี
นายทองอ่อนได้มอบเอกสารโบราณเหล่านี้ให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ อาทิ เอกสารลายมือเขียน ตำรายา หนังสือ สมุดข่อย และใบลาน ซึ่งทางหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติได้จัดหมวดหมู่และจัดทำบัญชีเรียบร้อยแล้ว โดยฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ฯ จะคัดเลือกเฉพาะเอกสารที่เป็นใบลานและสมุดข่อยมาทำสำเนาดิจิทัลและจะเผยแพร่ให้ผู้สนใจใช้งานผ่านฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ฯ
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/63 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ อังกาไม่เรียงต่อกัน
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/84 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
เสียเคราะห์ คือพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า อำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะบุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เนืองๆ นั้นเพราะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติกระทำ หรือถูกสิ่งที่ชั่วร้ายเข้าสิงในร่างกายทำให้บุคคลผู้นั้นทำกินไม่ขึ้นหรือไม่เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นจำเป็นจะต้องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไป ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/47 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานฉบับนี้ลายมือไม่เหมือนกัน คาดว่ามาจากคนละฉบับ ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “เสียเคราะห์ 2 : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4847-4848.
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/10 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา