พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ
หน้าต้นกล่าวถึง ตำราห่วง ซึ่งวิธีนับนั้น ให้นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เป็นต้นไป ทั้ง ๑๒ เดือน ถ้าเดือนใดวันขึ้น ๑ ค่ำเป็นอาทิตย์ นับไปตามลำดับข้างขึ้นและข้างแรม คือ ขึ้น ๑ ค่ำ (เอาเลข ๑) เป็นหลัก ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ และนับแรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ (๑๔ ค่ำเดือนขาด) นับโดยวิธีนี้ไปทุก ๆ เดือน หน้าปลายเริ่มด้วยภาพวาดลายเส้นรูปนักโทษสวมขื่อจองจำ เทวดาขี่เต่า ฉัตรทอง ราหู พ่อหมอ และปราสาท จากนั้นเขียนด้วยดินสอ ลายมือหวัด กล่าวถึงสูตรยารักษาโรค การพนันชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ถั่ว และการทำนาก อ้างอิงจาก ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://horoscope.dooasia.com/phommachat/phommachath021c002.shtml)
สมุดไทยฉบับนี้เป็นเรื่องโหราศาสตร์ทั้งฉบับ กล่าวถึง ชายหญิงธาตุใดอยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือธาตุใดไม่เหมาะที่จะเป็นคู่ครองกัน วันที่เป็นมงคลในการให้หยิบยืมเงิน หรือรับคืนเงิน การตัดผม การทาน้ำมัน การแรกนา วิวาหะมงคล การทำการใดๆ หน้าปลายของสมุดไทยกล่าวถึง เรื่องดำเนินพระราม เป็นบทร้อยกรอง
สมุดไทยฉบับนี้ กล่าวถึงตำราโหราศาสตร์ 3 ฉบับด้วยกัน คือ ตำราห่วง ตำราเทวดาให้ฤกษ์ และตำรายามอัฐกาล โดยจะกล่าวถึงวันและฤกษ์ยามในการทำการมงคล ทั้งการปลูกเรือน การสู่ขอภรรยา การเจรจาคดีความต่างๆ การไปหาสู่ผู้ใหญ่ เป็นต้น
สมุดไทยบันทึกตำรายาสมุนไพรแผนโบราณ และการพยากรณ์ ตำราโหราศาสตร์ และคำสู่ขวัญต่าง ๆ
สมุดไทยบันทึกตำราพยากรณ์ทำนายต่าง ๆ มีตำรายาแทรกด้วย ด้านในมีบันทึกว่า “สิทธิการิยะ ยังมีอาจารย์ผู้หนึ่งท่านไว้พระตำรานี้ได้มาแต่เมืองเชียงใหม่ เดิมนั้นท่านไว้เป็นกฤษณาว่าทองพันตำลึง ครั้นท่านผู้มีปัญญาคิดได้ พบแต่แต่โอ่งเปล่าใบหนึ่ง แต่ท่านใส่ตำรานี้ไว้ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ตำรานี้ไว้ ตำราของพระสีเสาให้ไว้เป็นทาน ท่านแช่งชักสาบานไว้มากนัก ถ้าว่าตำ | รานี้มีเหมือนเรากล่าวไว้ ก็ให้เราไปสู่อบายทุกข์ ๑,๐๐๐ กัลป์ ๑,๐๐๐ ชาติเถิด พระเจ้าเชียงใหม่ทำเสวยเป็นนิจนิรันดร์ อายุท่านได้ ๑๐๗ ปี เกสาของท่านยังดำอยู่ พระทนต์ยังตึงอยู่ทุกสิ่ง ผิวเนื้อประดุจทองนพคุณ ครั้นอยู่มาสมภารพระอินทมุนีโคจรไปแต่กรุง จึงพระจ้าเชียงใหม่นิมนต์พระอินทร์ให้ท่านทำ พระ | อินทมุนีก็เทศนาไป แล้วก็หยุดอยู่ที่นั้นนาน พระเจ้าเชียงใหม่จึงยกตำรานี้ถวาย พระอินทมุนีจึงว่า บุคคลผู้ใดมีความศรัทธามิได้เป็นมิจฉาก็ดี ก็ขอยำตำรานี้ให้สืบๆ กันมา ผู้ใดๆ ทำยานี้กินไปจนถึงปีหนึ่ง แม้นผมขาวก็กลับดำ ฟันคลอนแล้วก็กลับแน่น โรคทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าได้กินจน[จบ]ครบถ้วน | กำหนดสามปี อาจสามารถจะเดินบนน้ำได้ มีอายุยินได้ ๑,๐๐๐ ปี พระอินทมุนีก็ได้ทำกิน อายุท่านได้ ๑๐๘ ปี แล้วดูท่านก็ยังกระชับกระชวยอยู่ผมท่านก็ยังดำอยู่ ฟันยังแน่นอยู่ ท่านได้ตำรานี้มาแต่ วันประหัส เดือนเจ็ด จุลศักราช ๑๐๘๗ ปีมะเส็ง สัปตศกแล ...”
สมุดไทย หน้าต้นมีการกล่าวถึง การดูวันแรกนา ปลูกข้าวและพืชผักผลไม้ ส่วนหน้าปลาย
ตำราดูช้างดิน, ตำรายา, ตำราดูผีหัวหลวง, ตำราดูวันดีวันเสีย, ตำราทำนา, ตำราแม่โพสพ, คาถาถวายธง, คำเวนน้ำสรงพระพุทธรูป, คำขอขมาแก้วทั้ง ๓, คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์, คาถาวัวธนู, ยาหุง, ยา ๑๐๘ ฯลฯ ฉบับนี้มีการใช้สระออ ที่มีรูปเป็นไม้เก๋าห่อนึ่ง
เลขทะเบียน 65 ตำรายาแผนโบราณ