กิจกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ (6 หน้า)

20-24 มกราคม 2568
นักวิชาการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรมแสวงหาเครือข่ายและสำรวจข้อมูลเอกสารโบราณ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายเอกสารโบราณ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านเอกสารโบราณของชาวมุสลิมมลายูและเอกสารโบราณของภาคใต้

เอกสารโบราณที่เก็บรักษาไว้ เป็นบันทึกสายตระกูลและผังเครือญาติของบรรพชนชาวมุสลิมมลายูปัตตานี ณ บ้านปากลัด ซึ่งได้รับการบันทึกโดย ฮัจญี อับบาส บิน อับดุรเราะห์มาน อัลปากลาตีย์ หรือ แชบะฮ์ แสงวิมาน นักวิชาการด้านศาสนาอิสลามคนสำคัญของชุมชน เมื่อกว่าร้อยปีก่อน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงด้านสายตระกูลของชาวมุสลิมในชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) ให้การต้อนรับนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อศึกษาดูงานเรื่องการแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นดิจิทัลของฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) ร่วมกับ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ต้อนรับนักวิชาการจากประเทศจีน

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 1 The 1st National Academic Conference on Arts and Culture for Local Development (1st CACLD 2024) ในหัวข้อ “คัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารโบราณ : ทุนทางวัฒนธรรมสู่ Soft Power”

การลงพื้นที่ที่พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร เพื่อดำเนินการทำทะเบียน และจัดทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่อง ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567

วันที่ 22-24 มีนาคม 2565 เจ้าหน้าที่จากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เดินทางไปยังวัดโคก จังหวัดเพชรบุรี เพื่อทำทะเบียน และทำสำเนาดิจทัลเอกสารโบราณเป็นครั้งที่ 2<br /><br />
วัดโคก จังหวัดเพชรบุรี เดิมวัดนี้เป็นวัดยา มีการเปิดสอนความรู้ด้านสมุนไพรให้แก่ผู้สนใจด้วย ส่วนเอกสารโบราณปัจจุบันมีจำนวนหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากตู้ที่ใช้เก็บเอกสารโบราณโดนฝนสาด ทำให้เอกสารโบราณบางส่วนชำรุดเสียหาย หรือขาดจากฉบับ ค่อนข้างยากในการจัดเรียงเอกสารโบราณเรื่องเดียวกันเข้าชุด

เปิดประสบการณ์การทำงานภาคสนามเพื่อสำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม โดย นักวิชาการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการ ศมส.