หมอเห สายโกสินทร์ (สกุลเดิม จงกลนี) เป็นหมอยาพื้นบ้านที่ได้รับความนับถือจากผู้คนในชุมชนวัดท่าพูด ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม นอกจากนี้หมอเหเองยังเป็นเจ้าพิธีกรรมต่างๆ ด้วย หากบ้านใดมีงานทำบุญ งานแต่งงาน งานทำขวัญ หมอเหก็จะไปช่วยเป็นเจ้าพิธีในงานนั้นๆ หมอเหร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนไทยสมัยเมื่อยังบวชเรียนที่วัดท่าพูด ต่อมาเมื่อสึกเป็นฆราวาสก็ได้ใช้วิชาแพทย์แผนไทยของท่านช่วยรักษาโรคภัยให้ชาวบ้าน
เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม ที่ผ่านมา นักวิชาการและเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ ประกอบด้วย ดอกรัก พยัคศรี (นักวิชาการฐานข้อมูล) สมศักดิ์ แก้วนุช (เจ้าหน้าที่ประสานงาน) นิสา เชยกลิ่น (เจ้าหน้าที่ฐานข้อมูล) และศุภกรานต์ พุ่มพฤกษ์ (เจ้าหน้าที่โสตทัศน์) เข้าไปทำทะเบียน และทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ เป็นครั้งที่ 3
29 มกราคม 2567
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) ร่วมหารือกับ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านเอกสารตัวเขียน
15 และ 22 กุมภาพันธ์ 2566
นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำงานที่เรียกได้ว่าการทำงานตั้งแต่ต้นทางคือ สำรวจและแสวงหาข้อมูล การทำความสะอาดเอกสารโบราณและทำทะเบียน การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ
20 เมษายน 2566
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ต้อนรับคณะทำงานโครงการวิจัย “การจัดทำระบบสารสนเทศข้อมูลคัมภีร์ใบลาน วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี” นำโดย ผศ.ดร.สุปิยา ทาปทา ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และคณะ
23 กุมภาพันธ์ 2566
นิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการทำงานที่เรียกได้ว่าการทำงานตั้งแต่ต้นทางคือ สำรวจและแสวงหาข้อมูล การทำความสะอาดเอกสารโบราณและทำทะเบียน การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ จนถึงกระบวนการจัดการเอกสารโบราณตามหลัก Digital Lifecycle Management จนถึงปลายทางคือการเผยแพร่ข้อมูลเอกสารโบราณในเว็บไซต์ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย