กล่าวถึง โรค อาการเจ็บป่วย และสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยารักษาฝี ยาแก้ตะคริว ยาแก้ขัดเบา ยาแก้กาฬ ยาอาจารย์อัมวัดตะหลุก ยาทิพย์ไสยาสน์ ยาดองแก้เลือดหญิงอยู่ไฟไม่ได้ ยาบำรุงโลหิต ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประจุไข้เหนือ ยาพินทุกาฬ ยามหานิลแท่งทอง ยาเนาวโกฐ และยาครรภ์ทรักษา ฯลฯ
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
ตำราดูไข้เป็นเรื่องหลัก มีเนื้อความครบ ต้นเรื่องมีภาพแสดงจุดต่างๆบนร่างกาย แก้โรคต่างๆ เข้าใจว่าเป็นส่วนปลายของตำรานวดกดจุดที่ขาดหายไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องคาถาคงกระพัน หน้าปลายมีคาถาไสยศาสตร์
ตำรับยาสมุนไพรหลายขนาน ยาขับหนองใน ยาแก้อุปทม ยารุเลือด ยาขับเลือด ยาแก้กาฬสิงคลี ยาแก้เลือดตีขึ้น ยาดองแก้โทษานุโทษ ยาบำรุงเลือด ยารุเลือดมิถึงระดู
หน้าต้นกล่าวถึง ตำราห่วง ซึ่งวิธีนับนั้น ให้นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เป็นต้นไป ทั้ง ๑๒ เดือน ถ้าเดือนใดวันขึ้น ๑ ค่ำเป็นอาทิตย์ นับไปตามลำดับข้างขึ้นและข้างแรม คือ ขึ้น ๑ ค่ำ (เอาเลข ๑) เป็นหลัก ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ และนับแรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ (๑๔ ค่ำเดือนขาด) นับโดยวิธีนี้ไปทุก ๆ เดือน หน้าปลายเริ่มด้วยภาพวาดลายเส้นรูปนักโทษสวมขื่อจองจำ เทวดาขี่เต่า ฉัตรทอง ราหู พ่อหมอ และปราสาท จากนั้นเขียนด้วยดินสอ ลายมือหวัด กล่าวถึงสูตรยารักษาโรค การพนันชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ถั่ว และการทำนาก อ้างอิงจาก ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://horoscope.dooasia.com/phommachat/phommachath021c002.shtml)
สมุดไทยฉบับนี้เป็นเรื่องโหราศาสตร์ทั้งฉบับ กล่าวถึง ชายหญิงธาตุใดอยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือธาตุใดไม่เหมาะที่จะเป็นคู่ครองกัน วันที่เป็นมงคลในการให้หยิบยืมเงิน หรือรับคืนเงิน การตัดผม การทาน้ำมัน การแรกนา วิวาหะมงคล การทำการใดๆ หน้าปลายของสมุดไทยกล่าวถึง เรื่องดำเนินพระราม เป็นบทร้อยกรอง