เอกสารโบราณ

คำประพันธ์ : ร้อยแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,277 รายการ (142 หน้า)
รูปวัว

NPT004-062 ทำนายสงกรานต์, ยาแก้ลม

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
สมุดไทยดำ , ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์ , สมุนไพร , รักษาโรค , ภาพวาด

หน้าต้นเป็นโหราศาสตร์ ทำนายสงกรานต์ ทำนายฝน มีรูปวัว และการทำนายต่างๆ, (เส้นขาวหัวกลับ เป็นเรื่องคำสอนพระพุทธศาสนา), หน้าปลาย เป็นเรื่องตำรายา ยาแก้ลมจุกเสียด

ตำราปลูกเรือน

NPT004-060 ตำราปลูกเรือน

ตำราโหราศาสตร์
สมุดไทยขาว , ตำราโหราศาสตร์ , ปลูกเรือน , ดูดวง

มีเรื่องย่อยๆ ได้แก่ ตำราปลูกเรือน, ตำรานาคสมพงษ์, เทพจร, ตำรายาตรา, ตำราปลูกต้นไม้มงคล, สมพงษ์หญิงชาย, สมพงษ์ธาตุ เป็นต้น

ตำราคงกระพัน

NPT004-056 ตำราคงกระพัน

ตำราไสยศาสตร์
วัดลำพญา , วัดลำพยา , ไสยศาสตร์ , คงกระพันชาตรี

เรื่องย่อยหลายเรื่อง เช่น คาถาร่ายให้คงกระพัน, หัวใจกระสัตรี, หัวใจบุรุษ, คาถากล่อมหัวใจ, คาถาคุมขวัญ, ยาถอนคุณ, ยาอุทัย

NPT007-019 โรคนิทาน

ตำราเวชศาสตร์
บ้านหมอเห , สมุนไพร , สาเหตุแห่งโรค

โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.

NPT005-012 ตำรายาสมีอิน

ตำราเวชศาสตร์
วัดบางช้างใต้ , ตำรายา , ซางเจ็ดจำพวก , ซางเด็ก , ยากวาดซาง

ในหน้าปลายเขียนว่า ตำรายาสมีอินสร้างไว้ในพระศาสนา กล่าวถึง โรคซางเจ็ดจำพวก ซางเด็ก ยากวาดซางแบบต่างๆ และยาสมุนไพรอื่นๆ

NPT001-015 ยันต์และตำราทำขวัญข้าว

ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเบ็ดเตล็ด
วัดท่าพูด , ยันต์ , คาถาอาคม , เครื่องรางของขลัง , ยันต์มุงกุฏพระเจ้า , อิติปิโสเรือนเตี้ย , หลวงพ่อแก้ว , ทำขวัญข้าว , แม่โพสพ , ยาเครื่อง , ยาดอง

ในตอนต้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมคาถาอาคมที่ใช้ท่องเสกกำกับเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคาถาภาษาบาลีที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเช่น พุทฺโธเมตตา ธมฺโมกรุณา สงฺโฆเอ็นดู นโมรักใคร่ เป็นต้น นอกจากที่ยังมีภาพยันต์ต่างๆ ที่นำไปเขียนบนผ้าหรือกระดาษเพื่อประกอบการทำเครื่องรางของขลังเช่น ตระกรุด ด้ายมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องรางที่ใช้ป้องกันภัยอันตรายทั้งมวลที่น่าสนใจคือ ยันต์มงกุฏพระเจ้า ที่ใช้ประกอบกับผ้าประเจียด ซึ่งยันต์นี้ได้ระบุว่าเป็นของ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าพูด ต่อมาเป็นเรื่องการทำขวัญข้าว เนื้อหากล่าวถึงกำเนิดพระแม่โพสพ แต่ไม่จบเรื่อง สุดท้ายมีสูตรยาสมุนไพรอีก ๒ อย่างคือ ยาเครื่อง และยาดอง

NPT001-022-007 พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ผูกที่ ๗

ธรรมคดี
วัดท่าพูด , อภิธรรม , ใบลาน , มหาปัฏฐาน

พระสมันตมหาปัฏฐานอนันตนย ผูก ๗ ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระอภิธรรมนี้ในพรรษาที่ ๗ นับจากตรัสรู้ ครั้งเมื่อพระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์เสด็จไปประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริชาต พระอินทร์ทราบจึงรีบเสด็จไปยังภพดุสิตอันเป็นที่สถิตของพระสิริมหามายาแล้วกราบทูล พระสิริมหามายาทรงสดับและทรงโสมนัสจึงเสด็จจากภพดุสิตไปภพดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสเชิญพระสิริมหามายาพุทธมารดาให้เข้าไปใกล้ ให้เป็นประธานแก่เทพยดาทั้งหลาย แล้วจึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตามลำดับจนครบสามเดือน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ พระอภิธรรมนี้ ชาวพุทธถือว่าออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงเทศนาโปรดเทพยดามีพระพุทธมารดาเป็นประธานเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธมารดา