ว่าด้วยเรื่อง พระวินัย แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1202 (พ.ศ. 2383) เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 18 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1223 (พ.ศ. 2404) เดือน 12 ขึ้น 12 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทอง รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 19 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1242 (พ.ศ. 2423) เดือน 4 แรม 9 ค่ำ วันอังคาร สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลานดิบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 20 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
“ธรรมบท” เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกายซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี -“ธัมมปทัฏฐกถา” เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คือรองลงมาจากพระไตรปิฎก ฉบับเดิมเป็นภาษาสิงหลอยู่ในประเทศลังกา ต่อมาได้มีพระเถระชาวอินเดียรูปหนึ่ง ชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ แปลมาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี โดยปรับปรุงจากต้นฉบับ อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาสแล้วแต่สถานการณ์จำเพาะที่บังเกิดขึ้นในพระชนม์และในสังฆมณฑล ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนานพระพุทธประวัติ -อธิบายขยายความของธรรมบท ในการแต่ง พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายคาถาธรรมบทแต่ละคาถา และนำนิทานมาประกอบเพื่อสนับสนุนคาถานั้นๆ นิทานทุกเรื่องที่นำมาเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ เป็นนิทาน “อิงหลักธรรมทั้งสิ้น” ศักราช จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ถูกตัดขอบลานออก มีร่องรอยว่าเป็นฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 7 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ศักราช จ.ศ. 1211 (พ.ศ. 2392) เดือน 2 ขึ้น 1 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 17 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์ หมายถึง “การละเมิดอันยังกุศลให้ตก”, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งจัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง ; เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก 92 ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท 122 ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ศักราช จ.ศ. 1230-1231 (พ.ศ. 2410-2411) สภาพเอกสาร ใบลานฉบับลงรักทาชาด ไม้ประกับ มีรอยตัดขอบลานพร้อมไม้ประกับ กินอักษรไปบางส่วน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 15 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
- ภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล 311 ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ - ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง 6 เรื่อง คือ (1) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (2) อายตนบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (3) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (4) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (5) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอินทรีย์ (บัญญัติทั้ง 5 เรื่องนี้เป็นปรมัตถสัจ ท่านแสดงไว้เฉพาะในภาคอุทเทสเท่านั้น ไม่นำไปจำแนกรายละเอียดในภาคนิทเทส) (6) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล ซึ่งเป็นสมมติสัจ ท่านแสดงไว้ทั้งในภาคอุทเทสและภาคนิทเทส ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1287 (พ.ศ. 2368) เดือน 9 แรม 7 ค่ำ วันเสาร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ 4 ฉบับปิดทองล่องชาด ขอบด้านขวา 1 ฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 14 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
- คัมภีร์อภิธานหรือคัมภีร์พจนานุกรม เป็นคัมภีร์ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่ในโลก มนุษย์ บนสวรรค์ ใต้บาดาล และอบายภูมิ ได้แก่ คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นต้น - คัมภีร์อภิธานที่รวบรวมคำศัพท์ที่จารึกอยู่ในคัมภีร์ไตรเวทและคัมภีร์เวทางค์ เป็นภาษาสันสกฤต เช่น คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ ต่อมา มีการรจนาคัมภีร์อภิธานเป็นภาษาบาลีขึ้น คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมคำศัพท์ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ไว้อย่างสมบูรณ์ และมีคัมภีร์อธิบายอีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานสูจิ คัมภีร์อภิธานนิสสยะ เป็นต้น ศักราช จ.ศ.1268 (พ.ศ.2449) เดือน 2 แรม 7 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลานด้านยาว ร่องรอยว่าเป็นฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 8 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
สังคะหะ ปาฬิ อาจหมายถึง อภิธัมมัตถสังคหะ คัมภีร์ประมวลความของพระอภิธรรม เป็นตำราฝ่ายพระอภิธรรมที่ประมวลเนื้อหาจากพระสูตรและพระอภิธรรมโดยย่อ เพื่อเป็นตำราเรียนเริ่มแรกของผู้ที่สนใจเรียนรจนาขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ.1700 โดยพระอนุรุทธาจารย์ พระเถระชาวสิงหลแห่งมูลโสมวิหารในลังกาทวีป ศักราช จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) เดือน 3 ขึ้น 7 ค่ำ วันอังคาร สภาพเอกสาร ใบลานฉบับล่องชาด มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลาน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 5 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้