ตำรายากล่าวถึงสมุนไพรสำหรับรักษาโรค เช่น ยานัตถุ์ ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอ ยาลงเลือด ยาลงเลือดทางทวาร ยาลงเลือดทางปาก ยาแก้ปวดบิด ยาลมอกร้อน ยาลมคัดอก ยาบำรุงเลือดสำหรับหญิงหลังคลอดลูก เป็นต้น สูตรยารักษาโรค อาทิ “ผิว่า ไอ ให้เอาหญ้าควยงูมาใส่เพื่อสน้อยแช่น้ำกินหายแล ภาค ๑ ให้เอาหัวถั่วพู รากตำลึง แช่กินดีแล ภาค ๑ เอาแส้ม้าฮ่อ แช่กินดีแล ผิว่า รากเลือด ก็ออกดังนั้นเอาหญ้าหางหมาต้มกินดีแล ผิว่า ลงทวาร ให้เอารากกล้วยตีบ ๑ อ้อยดำ ๑ หอมแกว ๑ หัวหญ้าแห้วหมู ๑ เอาท่อกันเคี่ยวกันดีแล“ หน้ารองสุดท้ายระบุชื่อเจ้าของใบลานเป็น อักษรไทย ภาษาไทย ว่า “พ่อทองนาค อุ่นใจ” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/28 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายารักษาโรค อาทิ ยาอายุวัฒนะ ยาเลือดขึ้น ยาเมาหัว เป็นต้น ใบลานหน้าสุดท้าย ระบุชื่อเจ้าของเอกสารโบราณด้วยหมึกสีน้ำเงิน อักษรไทย ภาษาไทย ว่า “นายทองสา สุดตา” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/25 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ยาออกเหลือง ยาพยาธิ ยาคันทะมาลา ยาฟก ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/27 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานมีกระดาษติดเขียนเลขเรียงหน้าแต่ไม่เรียงตามเลขอังกา จึงจัดใหม่ให้เรียงตามเลขอังกา
ตำรายาต่าง ๆ ยาชุม ไข้ออกแดง ยาแก้คัดอก ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/26 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายารักษาโรค อาทิ ยาหมากสุก ยาตุ่มทั้งมวล ยาไข้เจ็บ เนื้อคิง ฯลฯ ใบลานหน้าสุดท้าย มีการเขียนชื่อบุคคลด้วยหมึกสีแดง อักษรไทย ภาษาไทย ว่า “อ่านจบของลุงไทย” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/24 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
คัมภีร์ลมฉบับนี้ กล่าวถึงโรคและตำรับยารักษาโรค เช่น ยาลม ยาสารบาษ ยาซะเออะ(สะอึก) ยาปวดหัว ยาหายไข้ ยาลุหุนไข้ ยาหวัด ยาเลือดคั่งออก ยาเอ็นทก ยาเลือดขึ้น ยากะบุน ยาลงท้อง ยาเจ็บคอ ยาไฟไหม้ ยาฝำ ยาฝีบ้าคอ ยาปวดท้อง ยาท้องแล้ง ฯลฯ ตัวอย่างตำรับยารักษาโรคที่ปรากฏในคัมภีร์ อาทิ ยาลม เอาหญ้าหอมแก้ว หญ้าปากควาย รากนมวัว เคี่ยวใส่พริกขิง กินดี ฯ ยาลมแล่นท้องดัง เอาเปลือกมุกน้อยมุกหลวง บดไว้เอาน้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง หมัก ปั่นเป็นลูกกลอนไว้จำเริญกินดีแล เป็นต้น หน้าสุดท้ายเขียนด้วยว่า “คัมภีร์ลม ถ่ายออกแล้ว 22 ก.ค. 33” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/23 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้หมากไม้ กล่าวถึง บอกหมากไม้ (ใช้หมากไม้) ยาชุม บอกพยาธิ ฯลฯ “ไข้หมากไม้” โดยเชื่อว่าเกิดจากการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ และพืชต่างๆที่อยู่ในโคลนตม คนที่ไม่แข็งแรงเมื่อได้รับพิษเข้าไปก็จะเกิดอาการไข้ มักเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือช่วงที่ผลไม้ออกมากๆ (ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/1964799477117598/posts/2438974776366730/?locale=zh_TW&paipv=0&eav=AfaimwJY4D4wYRfdsriegZdK4tcTW87i2QVZJEyFpCLoMZrlHGwxYCm_hTK-7jnS-ew&_rdr.) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/22 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
กฎหมายลักษณะโจร 8 สถาน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/1 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาเลือดทั้งปวง อาทิ ยาเลือด ยาลม ยาแห่บ่ตก สันนิบาต เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/17 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา