กล่าวถึงตำราห่วง เทพจร มหาฤกษ์ ดูธาตุชายหญิง กรุงพาลี ปลูกเรือน
ตำรามหาฤกษ์ ถ้าจะดูฤกษ์งามยามดี ให้ดูมหาฤกษ์ หรือฤกษ์ใหญ่ โดยถือฤกษ์ตามวันขึ้นแรมในเดือนหนึ่งๆ แบ่งเป็นสองส่วน กล่าวคือ ส่วนข้างขึ้นนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำถึง 15 ค่ำ และส่วนข้างแรม ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ ถึง 14 ค่ำ แล้วกำหนดดูว่า วันขึ้น-แรมไหนจะดีก็ให้ถือฤกษ์ตามนั้น
ตำราว่าด้วยเรื่องคาถาอาคม เช่นคาถาทำน้ำมนต์ คาถาสะเดาะโซ่ตรวน ประแจเหล็ก เป็นต้น และการทำยันต์เพื่อป้องกันสิ่งอันตรายต่างๆ โดยเขียนตัวคาถาเป็นภาษาบาลีด้วยอักษรขอมไทย
ว่าด้วยเรื่อง ยามพระราม ตำราห่วง เทพจร นาคสมพงษ์ เป็นต้น
ตำรายาแก้โรคลมต่างๆ เช่น ยาแก้ลม 15 ประการ ยาแก้ลม 16 จำพวก ยาแก้ลมอัมพฤก อัมพาต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตำรับยาแก้โรคอื่นๆ เช่น ยาต้มตัดไข้ ยาต้มแก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ตำรายาพระเจ้าหงสา ยาเหลืองใหญ่ ยาแดงใหญ่ ยาต้มกระทุ้งธาตุทั้ง 4 ยาขับเลือด ยาละลายเลือด ฯลฯ
หน้าปกสมุดไทยเขียนว่า "ขอให้แพทย์ พิจารณาสรรพคุณ" ด้านในเขียนเรื่องสรรพคุณของสมุนไพรชื่อ "เชือกเขามวก" มีสรรพคุณแก้โรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งคุด มะเร็งชอน ปวดท้อง เป็นตะคริว ริดสีดวง หรือช้างม้าวัวควาย เป็นขี้เรื้อน กลากเกลื้อน ให้ฝนกับน้ำผักโหมทั้งกินทั้งทา นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในเชิงไสยด้วยเช่น การเข้าหาขุนนางให้นำเชือกขามวกมาทำเป็นประคำคาดเอว หรือต้องไปรบทัพจับศึกก็ใช้ได้เช่นกัน รวมไปถึงพระคาถาที่ใช้เสกเชือกเขามวกด้วย
ตำราวิธีการคิดคำนวณหน้าที่นา หรือสวน มีรูปภาพประกอบ มีตำรับยาต้มแก้กล่อน ยาแก้ซาง ยาแก้สันนิบาตสองคลอง เขียนด้วยดินสอ (*น่าสังเกตว่าสมุดไทยเล่มนี้จะเป็นเล่มเดียวกับ NPT006-012 ตำราคณิตศาสตร์ แต่ขาดออกจากกัน เนื่องจากลายมือการเขียนตำราคณิตศาสตร์ และตำรับยาด้านหลังค่อนข้างจะเหมือนกัน)
ตอนต้นเป็นภาพยันต์ และคาถาอาคมต่างๆ ตอนท้ายเขียนด้วยดินสอ เกี่ยวกับกฏหมายลักษณะอุทธรณ์ 12 ประการ อุตริอุทธรณ์ 21 ประการ ลักษณะนานาอุทธรณ์ 22 ประการ ลักษณะอาสาชนะอุทธรณ์ 5 ประการ ลักษณะตัดฟ้อง 20 ประการ ลักษณะตัดสำนวน 10 ประการ
ตอนต้นเป็นตำรับยาแก้ลมต่างๆ เช่น ยาลมปะกัง ยาลมเสลด ยาแก้ลมพรรดึก นอกจากนี้มียาบำรุงโลหิต ยาต้มสันนิบาต ยาพอกฝี ฯลฯ ตอนท้ายเป็นเรื่อง "แม่ซื้อ" ซึ่งเป็นคติความเชื่อเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด อยู่ในคัมภีร์ปฐมจินดา