ต้นสมุดกล่าวถึง ปีนักษัตร วันอุโบสถ กาลปักเขเดือนแรม ศุกรปักเขเดือนขึ้นเขียนด้วยอักษรไทย อักษรขอมไทย และอักษรขอมหวัด ต่อมากล่าวถึงการกำหนดอายุพุทธศาสนาในกัปนี้ของพระพุทธเจ้า จากนั้นเป็นพระปาฏิโมกข์เขียนด้วยอักษรขอมไทย
พระอนาคตวงศ์นี้ เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติย่อของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญพระบารมีในชาติหนึ่ง ซึ่งปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก ณ อนาคตกาลภายหน้านั้นคือ - พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง - พระราม พระองค์หนึ่ง - พระธรรมราช พระองค์หนึ่ง - พระธรรมสามี พระองค์หนึ่ง - พระนารทะ พระองค์หนึ่ง - พระรังสีมุนีนาถ พระองค์หนึ่ง - พระเทวเทพ พระองค์หนึ่ง - พระนรสีหะ พระองค์หนึ่ง - พระติสสะ พระองค์หนึ่ง - พระสุมงคล พระองค์หนึ่ง ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไปโดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ ยิ่งหย่อนกว่ากันด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆ ของพระองค์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตรโดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ
ตำราเขียนยันต์พร้อมด้วยคาถาต่างๆ เช่น ยันต์เสกน้ำมันเมี่ยง เสกหมาก เสกขี้ผึ้งสีปาก ยันต์ปิดประตูกันขโมย ยันต์เลี้ยงลูกง่าย เป็นต้น
ตำราโหราศาสตร์ต่างๆ เช่น ตำราห่วง เทพจรประจำกาย ตำรากรุงพาลี เป็นต้น
ตำราโหราศาสตร์เล่มนี้กล่าวถึงเรื่อง เทพจรประจำกาย ดูฤกษ์วันต่างๆ วันอมฤตโชค วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค เรื่องกรุงพาลีการตั้งศาลพระภูมิ ตำราดูนาควัน ตำราดูปลวกขึ้นเรือน
ตอนแรกเป็นโองการอัญเชิญเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ต่อมาเป็นคาถาอาคม เสกผงและเทียน ด้านท้ายมีภาพยันต์
โองการพระเจ้าห้าพระองค์ หรือที่เรียกว่าโองการมหาปทุม มีความโดดเด่นในทางการอัญเชิญพุทธานุภาพมาใช้ในวิทยาอาคมโดยตรง พระเจ้าห้าพระองค์นี้มาจากคติภัทรกัปป์ที่มีพระพุทธเจ้าทรงมาโปรดเวไนยสัตย์ 5 พระองค์
กล่าวถึงคาถาอาคมต่างๆ และยันต์ เช่น ยันต์ชาตรีคงทน ยันต์หลงกระดูก เป็นต้น
ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในวิหารเวฬุวันว่า "นิพพานนี้เป็นสุข" พระอุทายีตั้งข้อสังกาว่า "นิพพานนี้ไม่มีเวทนา เป็นสุขได้อย่างไร" พระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า "นิพพานไม่มีเวทนานี้แลหะจึงเป็นสุข" พร้อมกับอธิบายถึงสุขที่เกิดขึ้นจากกามสุขทั้ง 5 และอธิบายว่า ถึงแม้ภิกษุที่บรรลุฌานชั้นต่างๆ ตั้งแต่ ปฐมฌานไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาตนฌาน ก็ไม่สามารถปราศจากทุกข์ได้ ต่อเมื่อบรรลุเนวสัญญาสัญญาตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายก็สิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา จึงรู้ว่านิพพานนี้เป็นสุขอย่างไร