เอกสารโบราณ

ตัวอักษร : ไทยน้อย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ (4 หน้า)

NPH001-046 คัมภีร์แต่งคายเสียเคราะห์

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา , สะเดาะเคราะห์ , แก้เคราะห์ , โชคร้าย , คาย

“คาย” หรือ “ค่าคาย” นั้น หมายถึง เงินค่ายกครู รวมทั้งดอกไม้ธูปเทียน อุปกรณ์อาหารคาวหวาน ข้าวของเครื่องใช้ในพิธีกรรมนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละพิธีกรรมนั้นเจ้าพิธีจะเป็นผู้กำหนดเงินค่าครู และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งรวมเรียกว่า “คาย” หรือ “ตั้งคาย” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/46 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา อ้างอิง “คาย : เครื่องบูชา.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 669-670.

NPH001-045 คัมภีร์เชิญขวัญ

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา , สู่ขวัญ , เชิญขวัญ , พิธีกรรม

ขวัญ หรือ ขวน คือสิ่งที่เป็นมิ่งมงคลสถิตอยู่กับชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ชาวไทยคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับขวัญมาก และมีพิธีกรรมในการเรียกขวัญ ปลอบขวัญอยู่ทุกขั้นตอนของรอบชีวิตหนึ่ง ๆ เช่น สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/45 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “สูดขวน (สู่ขวัญ) : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4782-4787.

NPH001-043 คัมภีร์สู่ขวัญ

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา , สู่ขวัญ , เชิญขวัญ , พิธีกรรม

ขวัญ หรือ ขวน คือสิ่งที่เป็นมิ่งมงคลสถิตอยู่กับชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ชาวไทยคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับขวัญมาก และมีพิธีกรรมในการเรียกขวัญ ปลอบขวัญอยู่ทุกขั้นตอนของรอบชีวิตหนึ่ง ๆ เช่น สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/43 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “สูดขวน (สู่ขวัญ) : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4782-4787.

NPH001-040 เสียเคราะห์บูชา

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ข้อความเขียนว่า “เสียเคราะห์ บูชาฟ้า อย่าติได้” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/40 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-039 เสียเคราะห์ผู้ใหญ่

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

เสียเคราะห์ คือพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า อำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะบุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เนืองๆ นั้นเพราะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติกระทำ หรือถูกสิ่งที่ชั่วร้ายเข้าสิงในร่างกายทำให้บุคคลผู้นั้นทำกินไม่ขึ้นหรือไม่เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นจำเป็นจะต้องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไป ใบลานหน้าแรกมีข้อความเขียนว่า “อันนี้แต่งแต่เด็กน้อยแลเจ้าเฮย” หมายเหตุ ใบลานมีหลายขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/39 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “เสียเคราะห์ 2 : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4847-4848.

NPH001-042 คัมภีร์ป่าวเทพยดา

ตำราโหราศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา , เชิญเทวดา , เทวดา

ป่าวเทวดา คือ คำประกาศเชิญเทวดามาชุมนุมในพิธีกรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่กระทำกิจพิธีมงคลหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สะเดาะเคราะห์ เจ้าพิธี (ได้แก่ พระสงฆ์ หรือ เจ้าพิธี) จะกล่าวประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเทวดาในสากลพิภพมาร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย ดังที่ชาวภาคกลางจะใช้คาถาชุมนุมเทวดา ที่เรียกว่า “สัคเค กาเม จ รูเป …ฯลฯ” เมื่อประกาศเชิญเทพชุมนุมแล้วจึงเริ่มพิธีกรรมนั้น ๆ ต่อไป ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/42 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “ป่าวเทวดา, คำ : บทสวด.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2666-2668.

NPH001-033 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาฉบับนี้ กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาสารพัดซาง แก้ซาง แก้ฝีในท้อง ยาแก้ลม ยาทาฟก ยารมฟก ยาไข้พรา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/33 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-032 ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี กล่าวถึงตำรับยา อาทิ ยาออกปานแดง ดำ ด่าง ยาชุม ฯลฯ ต่าง ๆ โดยมีการระบุเจ้าของเอกสารโบราณว่าเป็นของ นายเซียงลี บ้านแสนตอ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/32 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ มีใบลาน 2 ขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก

NPH001-031 ตำรายาท่านสองหลาบบ้านกงเก่า

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงโรคและตำรับยาสำหรับรักษาโรค อาทิ ยางูตอด ยาซะดวง ยาคันทะมาลา ยามะเร็งกระดูก ยาคางเข้ากับ ยาแก้ปานดำปานแดง ยาเทรียดไฟ ยาลวงแก้ว ยาลมนอก ยาแก้พิษ ยาเหือดจม ยาฝน ยาทา ยาตุม ยาลงคาง ยาเป่า ยาเส้นเอ็นทั้งมวล ยาแก้ลมทั้งมวล ยาลงท้อง ยาฝีหัวอ่อน ยาฝนทาฝี ยาไข้ตีนกำมือกำ เป็นต้น ตำรับยารักษาโรคที่ปรกฏในหนังสือ ตัวอย่างเช่น ยาลวงแก้ว เอารากบัวหลวง รากพร้าว รากตาล รากหญ้าคา รากหญ้าปากควาย หญ้าแห้วหมู เอาข้าวเจ้า อ้อยดำ ถั่วซะแดด มาตำดอมกันแช่ปั้นเอาสะแพงน้ำนมแฟง ๑ ประสมกับน้ำยาผงคาน้ำใส่เดินตัดกินดีแล หน้าสุดท้ายมีข้อความเขียนว่า “ไผยืมไปอย่าอำเอาเทินบีดีแล” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/31 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลาน 2 อักษร และขนาดใบลานต่างกัน คาดว่ามาจากคนละผูก