สมุดไทยขาว เขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลีแทรกเล็กน้อย กล่าวถึงคัมภีร์รักษาโรคต่าง ๆ เช่น คัมภีร์อภัยสันตา คัมภีร์ปถมจินดา คัมภีร์อติสาร ซึ่งในหน้าต้นเขียนเป็นร้อยกรอง ตัวอย่างเช่น “อาทิดทรางไฟยสำคัน ทรางนำอรรยจรรณั ทรางแดงนันอังคาน อันพุดสกอเกอกาน ครุอนบนดานกำเนีดนัน ทรางฅาวี อันสุกทรางเสารี ทรางโจนนันนีมี กำเนีดประจำต่ามอรร” (อาทิตย์ซางไฟสำคัญ ซางน้ำอัศจรรย์ ซางแดงนั้นอังคาร อันพุธสกอเกอกาน ครุวันบนดานกำเนิดนั้น ซางคาวี อันศุกร์ซางเสาร์ ซางโจรนั้นนี้มี กำเนิดประจำตามวัน- ภาษาไทยปัจจุบัน) และ “จบคำพีนึง แต่เทานี จบเดือนสิบแรมสิบ 3 คำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยนึง” (จบคัมภีร์นี้แต่เท่านี้ จบเดือนสิบ แรม 13 ค่ำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยหนึ่ง-ภาษาไทยปัจจุบัน) จากนั้นเป็นข้อความร้อยแก้ว "๏ นาตำกำพีขาวดีงเกสาแล" (หน้าต้น คัมภีร์ขาวดึงเกสาแล-ภาษาไทยปัจจุบัน)
สมุดไทยขาวเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ลายมือข้างค่อนข้างหวัด เนื้อหากล่าวถึง การรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ตำรารักษาโรคเกี่ยวกับตาและฝี เช่น ต้อตาแมว ต้อเกล็ดกะดี่ ต้อลำไย ต้อเตด ต้อแดท ต้อก้นหอย ยานัตถุ์ต้อลม ยานัตถุ์ชมพูลอย ยาสุมแก้ต้อมอดทั้งปวง ไข้ออกฝี ยากระทุ้งฝี ยาดับพิษฝี ยาแก้ต้อ ยาแก้เสลด ยาเขียวใหญ่ ยาแก้คุณ ยาแก้เส้น ยาหืดมองคร่อ ยาแก้ฝีภายใน ยาแก้สันนิบาตเลือดดีเดือด ยาแก้ลม ยาลมเทพจร เป็นต้น นอกจากตำรายาแล้วยังกล่าวถึงตำราโหราศาสตร์ สำหรับดูฤกษ์ยามอีกด้วย
หมายเหตุ : ในส่วนของหน้าปลายมีการหมุนหน้าสมุดไทยใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานอ่านเอกสารและสามารถเรียงเนื้อหาให้ง่ายและสะดวกขึ้น
คัมภีร์ใบลานกล่าวถึง ตำรายารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาแก้คลั่งแก้มั่ว ยาชโลม ยาแก้ไข้อีดำอีแดง ยาแก้สะอึก ยารุเลือด ยาปวดคัดหัวเหน่า ยาแก้พิษทั้งปวง ยาแก้ไข้มหาเมฆ ยาแก้ร้อนอกร้อนใจ ยาแก้คลั่ง ยาแก้เสมหะ ยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้เจ็บคอ ยาแก้ปากซีด ยาแก้ปวดศีรษะ ยาแก้ไข้จุกท้องขึ้น ยาแก้งูขบ ยาแก้ไข้ตีนมือเย็น ยาแก้ไข้กำเดา ยาแก้ไข้เหนือ ยาครอบไข้ ยาแก้น้ำลายเหนียว ยาอมแก้กาฬ ยาแก้อาเจียน ยาแก้สลบ ยาแก้กระหายน้ำ ยาแก้บุพโลหิต ยาแก้กระโดงทั้ง 5 ยาแก้เมื่อกระดูก ยาแก้ลมตีนเป็นเหน็บ ยาต้มคชราช (คุดทะราด) ยาต้มไข้สันนิบาต ยาประสานเนื้อ ยาต้มทุเลาธาตุ ยามหาคงคา ยาแก้สวิงสวาย ยาชัณสูตร ยาแก้ไข้ตาเหลือง เป็นต้น
สภาพคัมภีร์ใบลาน ไม่สมบูรณ์ ขาดจากผูก อังกาเรียงสระแบบไทย บางแผ่นขาดแหว่งส่วนที่เป็นอังกา
คัมภีร์ใบลานขนาดสั้น จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และอักษรไทย ภาษาไทย ในส่วนของอักษรขอมไทย สลับกับอักษรไทย เป็นการเขียนบาลีร้อยพบเพียงเล็กน้อย จากนั้นจารด้วยอักษรไทย ภาษาไทย
เนื้อหาของคัมภีร์ใบลานฉบับนี้อยู่ในหมวดเวชศาสตร์ กล่าวถึงคัมภีร์ปรีญาณสูตร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดศีรษะ แก้กระหายน้ำแก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้ดีแตก แก้ลงแก้ราก เป็นต้น
เอกสารโบราณเป็นคัมภีร์ใบลานขนาดสั้น ชื่อเรื่อง ตำราสัพะคูน กล่าวถึง ตำรับยาและการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น “วัน ๑ บดขิง วัน ๒ บดแห้วหมู วัน ๓ บดพิลังกาสา ถ้ามิได้เอาลูกตุมกาเครือ วัน ๔ บดขมิ้นอ้อย วัน ๕ บดพริก วัน ๖ บดดีปลี วัน ๗ บดใบสะเดา เมือ่จะประสมกันจึงเอามูตรวัวดำคุการด้วยกันบดจงละเอียด ปั้นเป็นแม่งตากในร่ม ถ้าแห้งแล้วจึงชูมด้วยพระคาถานี้เสกด้วย สักกัตวา ๔๕ คาบ เสกด้วย สัพพาสี ๔๕ คาบ แลพลีจงดีคำนับแล้วใช้เถิด ถ้าเจ็บตา ฝนด้วยน้ำแรมคืนใส่หายแล ฯ”
ตำรายาเรื่องฝีดาษ โรคฝีดาษ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไข้ทรพิษ ไข้หัว เป็นต้น หน้าต้นมีข้อความว่า “ตำราแผนเดื้อน ม˝อพูมสางไว้ยในพระศาสนา ให้ยสืบดสบุตรไปคางหน้า ขอให้ท้นศาตะหนาพระษีรอาร พระนี้ภารอย่าแคล้วเลย ณบ้ตไจโยโหตุ ฯ” ทำให้ทราบว่านอกจากตำราฝีดาษแล้วยังมีตำราแผนเดือนของหมอพูมและภาพรูปคนพร้อมตำแหน่งที่เกิดฝี ชื่อเรียกฝี และความอันตรายของฝีชนิดนั้น ส่วนหน้าปลายหน้าหลัง 3 หน้าสุดท้ายเขียนกลับหัว
สมุดไทยเรื่อง NPT010-016 ตำราคาถาและตำรายา ฉบับวัดสำโรง จ.นครปฐม เป็นสมุดไทยขาวตัวอักษรขอมไทย, ไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เขียนด้วยเส้นหมึกสีดำ ลายมือที่ปรากฏในสมุดไทยมี ๒ ลายมือแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ลายมือแรกเขียนตัวอักษรขอมไทยได้บรรจง สวยงาม ส่วนลายมือที่สองค่อนข้างหวัด สันนิษฐานว่าในหน้าต้นที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องตำราคาถานั้นถูกเขียนขึ้นมาก่อนซึ่งไม่ได้เขียนจนหมดฉบับ จากนั้นถูกนำไปเขียนเรื่องตำรายาภายหลัง สมุดไทยขาวฉบับนี้ไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายขาดหายไปเป็นที่น่าเสียดายมาก บางตำแหน่งมีรอยน้ำซึมทำให้ตัวอักษรลบเลือนไปเล็กน้อย หน้าต้นกล่าวถึง คาถาปถมํ คือ การอุบัติของพระเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ การบำเพ็ญบารมีจนถึงสูญนิพพาน คาถาต่างๆ ทั้งคาถาเมตตามหายนิยม คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาต่อกระดูก เป็นต้น หน้าปลายเป็นตำรายา กล่าวถึง คัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค โรคที่เกิดจากธาตุทั้งสี่พิการ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อาโปธาตุ) และสูตรยารักษาโรคนั้นๆ เช่น อาโปพิการ ร่างกายขาวซีด ง่วงซึม รักษาด้วย เจตมูลเพลิงแดง ๑ ลูกผักชี ๑ เปลือกมูกมัน ๑ ก็ทำเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินแก้โรค เป็นต้น
หน้าต้นเป็นตำรายาระบุชื่อเจ้าของว่า ตาอินสอน อยู่สุงเมืองละคอน กล่าวถึงยาต่างๆ อาทิ โองการพระอินสอน ยาถ่ายเลือด ฯลฯ และลายไทยวาดด้วยดินสอ ส่วนหน้าปลายเป็นภาพยันต์ หมายเหตุ ต้นฉบับภาพยันต์กลับหัว
เอกสารโบราณเป็นคัมภีร์ใบลานขนาดสั้นเกี่ยวกับตำราเวชศาสตร์ ขึ้นต้นด้วยคาถาบาลี อักษรขอมไทย ภาษาบาลี จากนั้นกล่าวถึงโรคต่าง ๆ 32 ประการ อาการและสมุนไพร มีแทรกข้อความว่า “ตำรายาหุงเลกเปนทองเปนเงินเปนเลกยูคางนากรอบเลกอันไดยเปนเลก ๒ อันนันเปนเลกยาวิเสดนักแล ฯ“