“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
พระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ
พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา (อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-05.htm)
บุญหรืออานิสงส์ที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สู่หนทางเจริญต่อไป
สมมต สมมติ สมมุติ คือ ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง
อธิฏฐานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เมตตาบารมี (ทุกๆเป้าหมายในชีวิตต้องประกอบด้วยเมตตาธรรมไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด)
วิริยะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ขันติบารมี (ความเพียรพยายามจะต่อเนื่องได้เพราะอาศัยความอดทน)
เนกขัมมะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ปัญญาบารมี (การสำรวมในกามสมบูรณ์ด้วยการพิจารณาตามจริงด้วยปัญญา)