มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีีน้ำเงิน “ลายงู ผูก ๒” และระบุ “๏ หน้าทับเค้าลายงู ผูก ๒ แล มีอยู่ ๗ ผูกกับกันแลฯฯ รัสสภิกขุซมพร้[อม]กับด้วยโยมอยู่โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแลท่านเหย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนานิยายลายงู ผู้ถ้วน ๒ ก็สมเด็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วนาฬกาตี ๑๑ ทุ่มคำพอดีแล ทุพี่เหยข้าฟั่งเต็มทีอย่าไปด่าข้าเนอ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อยเหมือนปูยาดคันนา เพราะว่าฟั่งแปลงศาลาเต็มที ทุพี่เหย ๚ รัสสภิกขุซม สร้างเอาเอง ปางเมื่อบวชเป็นภิกขุอยู่วัดดอนแจง เพราะว่าอยากได้บุญเต็มที ขอหื้อผู้ข้าได้เถิงสุข ๓ ประการ ได้เถิงนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ข้าขอกุศลอันนี้ไปรอดญาติโยมพี่น้องครูบาอาจารย์ข้าแด่แลฯฯ๛” หน้าทับปลาย ระบุ “๏ หน้าทับเค้าลายงู ผูก ๓ แลนายเหย มีอยู่ ๗ ผูกกับกันแล รัสสภิกขุซมพร้อมกับด้วยโยมอยู่โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูก ๔” ลานแรกด้านซ้ายมือ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนาจาเถิงพระยาเจ้าเมืองลายงูเข้ามาบูชามหาสัตว์เจ้าด้วยข้าวของอันมากนัก แล้วพระยาตนนั้นดังกล่าวมานี้แล อิติวุตฺตปกาเลน ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล นิยายลายงู ผูกถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ รัสสภิกขุซมสร้างเอาเองปางเมื่อบวชเป็นภิกขุอยู่วัดดองแจง อยากใคร่ได้บุญเต็มที ข้าขอสุข ๓ ประการ หื้อผู้ข้าได้เถิงนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ขอกุศลนาบุญอันไปรอดญาติพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ” หน้าทับปลาย จารอักษรขอมไทย ระบุ “ฉันไม่เคยเลย ที่เขียนจะสร้างไว้ในพุทธศาสนา”
กัณฑ์ที่ 10 คือกัณฑ์สักกบรรพ ว่าด้วยท้าวสักกะหรือพระอินทร์ แปลงกายมาเป็นพราหมณ์มาทูลขอนางมัทรี ซึ่งพระเวสสันดรก็ยกให้ (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)
กัณฑ์ที่ 8 นามว่ากัณฑ์กุมาร ชูชกรอจนนางมัทรีออกไปหาผลไม้ในป่าจึงเดินเข้าไปขอสองกุมารกับพระเวสสันดร พระกัณหาและพระชาลีต่างหนีไปหลบอยู่ในสระบัวจนพระเวสสันดรต้องตามไปเกลี้ยกล่อม (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)
กัณฑ์ที่ 7 คือกัณฑ์มหาพน เล่าต่อจากกัณฑ์จุลพน พูดถึงการหลอกคนให้หลงเชื่อของชูชก ชูชกหลอกถามทางอัจจุตฤๅษี (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)
กัณฑ์ที่ 5 คือกัณฑ์ชูชกเล่าเรื่อง ชูชกเป็นพราหมณ์ที่มีรูปร่างน่าเกลียด มีอาชีพเป็นขอทาน ที่จะมาขอพระกัณหาและพระชาลีมาเป็นทาสรับใช้ (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)
กัณฑ์หิมพานต์มีเนื้อหาเริ่มแต่พระเวสสันดรประสูติ อภิเสกสมรสกับนางมัทรี มีพระโอรสธิดาสองพระองค์คือชาลีกับกัณหา ตอนหลังถูกชาวเมืองขับไล่ให้ไปอยู่ป่าด้วยข้อหาพระราชทานช้างเผือกคู่บ้าคู่เมืองให้แก่ชาว กลิงครัฐ พระนางมัทรีจึงขอติดตามไปด้วย พร้อมทั้งพรรณาธรรมชาติในป่าหิมพานต์ให้พระเวสสันดรทรงทราบโดยละเอียด (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/หิมพานต์_(กัณฑ์))
ธัมมปทัฏฐกถาเป็นการอธิบายเนื้อหาเบื้องหลังพระธรรมบทบทต่างๆ รวมถึงแจ้งถึงผลแห่งการประกาศพระธรรมเทศนาอันเกี่ยวเนื่องกับพระธรรมบทบทนั้นๆ ว่า มีผู้ได้ผลแห่งการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เช่น ประกาศถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิต ไปจนถึงได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตผล มากน้อยเท่าไร นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายตำนาน การอธิบายศัพท์ที่สำคัญ และขยายความศัพท์ในเชิงไวยากรณ์และในเชิงธรรมนิยาม (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธัมมปทัฏฐกถา)
ธัมมปทัฏฐกถาเป็นการอธิบายเนื้อหาเบื้องหลังพระธรรมบทบทต่างๆ รวมถึงแจ้งถึงผลแห่งการประกาศพระธรรมเทศนาอันเกี่ยวเนื่องกับพระธรรมบทบทนั้นๆ ว่า มีผู้ได้ผลแห่งการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เช่น ประกาศถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิต ไปจนถึงได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตผล มากน้อยเท่าไร นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายตำนาน การอธิบายศัพท์ที่สำคัญ และขยายความศัพท์ในเชิงไวยากรณ์และในเชิงธรรมนิยาม (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ธัมมปทัฏฐกถา)