คำว่า “แจง” แปลว่า ขยายความ กระจายความ ใช้เรียกการเทศน์สังคายนาหรือเทศน์สอบทานพระธรรมวินัยโดยเฉพาะในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 นิยมเรียกการเทศน์ในลักษณะนี้ว่า “เทศน์แจง” ดังนั้น “การเทศน์แจง” คือการเทศน์เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา เนื้อหาของการเทศน์แจงคือขยายความข้อธรรมและข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อพอให้เป็นกริยาบุญ นิยมเทศน์ในงานศพของผู้ใหญ่ โดยถือว่าการเทศน์แจงเป็นบุญใหญ่ เป็นการรักษาพระธรรมวินัยไว้ เป็นการเลียนแบบการทำสังคายนาครั้งแรก ซึ่งมีผลทำให้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ “การสวดแจง” ก็คือการสวดสาธยายพระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรมโดยย่อโดยนิยมสวดในงานฌาปนกิจ อ้างอิง เทศน์แจง-สวดแจง. ข้อมูลจาก https://cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=776:2012-06-29-02-30-52&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=14 ภาพประกอบ : หน้าปกลงรักปิดทองลายดอกพิกุล ภาพวาดลงสีสวยงาม รหัสเอกสารเดิม : เลขทะเบียนเดิม 27
สวดแจง (RBR002-0684). (2567). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1263
สวดแจง (RBR002-0684). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1263. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
สวดแจง (RBR002-0684). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=1263