มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป (ข้อมูลอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/มาติกา)
กัณฑ์ที่ 7 คือกัณฑ์มหาพน เล่าต่อจากกัณฑ์จุลพน พูดถึงการหลอกคนให้หลงเชื่อของชูชก ชูชกหลอกถามทางอัจจุตฤๅษี
กัณฑ์ 13 คือนครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์สุดท้ายพูดถึงการเสด็จกลับเมืองเชตุดรของพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อกลับไปถึงพระเวสสันดรก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)
พระมาลัยเป็นพระอรหันต์จากลังกา เป็นพระที่ได้บรรลุอิทธิวิธี คือสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ด้วยอานิสงส์จากการถวายทานและปฏิบัติฌานสมาบัติ พระมาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีฤทธิ์รองลงมาจากพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้รับยกย่องในเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก เรื่องพระมาลัยเป็นตำนานเล่าขานในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและในประเทศลาว ในเรื่องเล่าว่าพระมาลัยได้ลงไปในนรกและได้ไปสอนธรรมโปรดชาวนรก ท่านได้ไปรู้ไปเห็นว่าสัตว์นรกถูกลงโทษตามผลกรรมตามนรกขุมต่าง ๆ อย่างไร
หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า ปัญหาราชสูตรแล ฯฯ:๛” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ เสด็จแล้ววันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา ๚ หน้าทับเค้าปัญหาราชสูตร รัสสภิกขุหนูถอด อยู่บ้านหัวขัว มีศรัทธามาหื้อรัสสภิกขุ เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อยแลนายเหย รัสสภิกขุได้เทศนาค่อยพิจารณาดูหื้อดีแด่เทอะ ฯฯ”
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมมุกขกุมาร” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณปทุมมุกฺขกุมารชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเ[ท]ศนายังปทุมมุกขกุมารชาดก ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛ จุลศักราชล่วงไปได้ ๒๐๐๐ ๔๐๐ ๖๐ ๗ วัสสา เสด็จแล้วปีมะเมีย ฉศก ตกเข้าในวสันตฤดู เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ วัน ๓ ยามตูดเพลแล้วน้อย ๑ ศรัทธาโยมมูร โยมดา ยังอุบายขงขวายหาได้ยังใบลานมาหื้อภิกขุฅุ้มเขียนปางเมื่ออยู่วัดทุ่งหญ้าคมบางทางงาม หาบ่ได้สักหน้อย พอหยาดเป็นถ้อย ติดตามใบลาน โยมมูร โยมดา กับผู้เขียน ขอหื้อมีสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด น ปจฺเจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ (ควรเป็น นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ) แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กุมาร ผูก ๘ กุมาร ผูก ๘”
RBR_003_326 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานมหาธาตุ” และดินสอ “...พระคัมภีร์นี้ ประจำอยู่วัดทัพ...เป็น...” (... หมายถึง ไม่ชัด) ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังตำนานมหาธาตุเจ้าทะโคง ยังดอยสิงคุตตร คือว่า ดอยจักเข็บ แล อันว่าจักขร่าวเม็งวะ ขอตามไทยแปลว่า ปู ก็มีแล อันชื่อว่า ดอยสิงคุตตรนั้น ıı นั้นก็สมเร็จแล้วบรมวลควรแก่กาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ พระหมายผู้ลงลายมือ และขอสุก ๓ ประการด้วยเทอญ พึ่งหัดใหม่ ขอส่วนบุญกุศลอันนี้ ขอไปรอดบิดามารดาพีน้อง เอื้อย อ้าย ผู้ข้าด้วยเทอญ ขอนิพพานต์ด้วยเทอญ ıı นะ ปัจจะโย โหตุ ” (ตัวเอียง จารเป็นอักษรไทย)
หน้าต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ปัญหาสูตรผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล แล แล ฯ จบแล้วนายเหย ๏๏ เสด็จแล้ววันจันทร์ เดือน ๑๐ ตาวันบ่าย ๓ โมง ปีชวด ผู้ข้าบวชเดือน ๔ พร่องหาหัดเขียน บ่เคยสักคำเทื่อแล นายเหย ทุพี่พระพี่องค์ใดได้เล่าเขียนเรียน ผิดทัดใดนิมตต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่ แก่ หนัก สญฺชปลร ดอนนาหนอง ชื่อมัน อีมะหยังฮู้ ผู้ข้าขอหื้อกุศลานาบุญอันหนึ่ง ไปถึงปิตตามาดาคูบาอาจานเป้าปงวงสา (ครูบาอาจารย์เผ่าพงศ์วงศา) พี่ข้าน้องข้อยจิ่มเทอะ ทุคำหัวส่อไว้แท้ นาเหย ฯฯ๛ ”
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ บริบูรณ์แล ๚” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวง” และสีแดง “ผูกที่ ๓” ท้ายลานระบุ “จาห้องสลองมหาวิหาร ๘ หมื่น ๔ พันหลังแล ราชวงศา ฯ อันจากฆา[ร] วาสไปบวชแล้วเท่านี้แล มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ ก็แล้ว เป็นห้อง ๑ ก่อนแล ฯ บริบุณณา ยาม ๑ ทุ่ม เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ พร่ำได้วัน ๔ ปีวอก ยามนั้นแล ฯฯะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๓ วัดดอนแจ่ง”