คัมภีร์ใบลานขนาดสั้น จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และอักษรไทย ภาษาไทย ในส่วนของอักษรขอมไทย สลับกับอักษรไทย เป็นการเขียนบาลีร้อยพบเพียงเล็กน้อย จากนั้นจารด้วยอักษรไทย ภาษาไทย
เนื้อหาของคัมภีร์ใบลานฉบับนี้อยู่ในหมวดเวชศาสตร์ กล่าวถึงคัมภีร์ปรีญาณสูตร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดศีรษะ แก้กระหายน้ำแก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้ดีแตก แก้ลงแก้ราก เป็นต้น
เอกสารโบราณเป็นคัมภีร์ใบลานขนาดสั้น ชื่อเรื่อง ตำราสัพะคูน กล่าวถึง ตำรับยาและการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น “วัน ๑ บดขิง วัน ๒ บดแห้วหมู วัน ๓ บดพิลังกาสา ถ้ามิได้เอาลูกตุมกาเครือ วัน ๔ บดขมิ้นอ้อย วัน ๕ บดพริก วัน ๖ บดดีปลี วัน ๗ บดใบสะเดา เมือ่จะประสมกันจึงเอามูตรวัวดำคุการด้วยกันบดจงละเอียด ปั้นเป็นแม่งตากในร่ม ถ้าแห้งแล้วจึงชูมด้วยพระคาถานี้เสกด้วย สักกัตวา ๔๕ คาบ เสกด้วย สัพพาสี ๔๕ คาบ แลพลีจงดีคำนับแล้วใช้เถิด ถ้าเจ็บตา ฝนด้วยน้ำแรมคืนใส่หายแล ฯ”
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๐ จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏ต้นจันทฆาต ผูก ๔ แลนายเอย”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาต ผูก ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “จันทคาด”
ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกปลาย ถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอัน[กล่าว/แก้ไข/เทศนา]ยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล /// เสด็จแล้ว จันทร์ แลนายเอย รัสสภิกขุเภด(เพชร) เขียนไว้ค้ำชูพระศาสนา เขียนแล้วยามเมื่อฉันจังหัน ข้าสร้างหนังสือกับ ข้าขอส่วนบุญไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องเขาคุคนแด่เทอะ ข้าเกิดมาชาติหน้า ขอหื้อได้สุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอดแลนายเอย // ข้าเขียนบ่งามสักหน้อย ใจบ่ดีเพราะนางมัทรีอยานิผากข้างเพราะรักมันเต็มทีแลนาย // ใจบ่ดีเพราะได้หันตัวแม่เพราแพรมันใคร่สิกข์เต็มทีแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวเท่าแมวลางตัวเท่าช้าง๛ ”
เอกสารโบราณเป็นใบลานขนาดสั้น เรียก ใบลานก้อม (ขนาดสั้นกว่าใบลานขนาดปกติ) จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย
หน้าสุดท้ายพบบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานความระบุถึงผู้สร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาว่า “หมู่ชุ่มสร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้สำเร็จพระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้น”
“สัตต” บาลีเขียน “สตฺต” แปลว่า เจ็ด, “ปริตร” บาลีเขียน “ปริตฺต” แปลว่า การป้องกัน, การรักษาให้ปลอดภัย; ของขลังสำหรับป้องกันตัว, ของที่ช่วยบรรเทา, เครื่องราง
สัตตปริตร คือบทสวดมนต์เจ็ดบท หรือ “เจ็ดเรื่อง” คือ พระปริตรที่มีอำนาจคุ้มครองป้องกันตามเรื่องต้นเดิมที่เล่าไว้ว่าแต่ละบทมีต้นกำเนิดมาอย่างไรและมีอานุภาพเป็นเช่นไร ซึ่งได้จัดรวมเป็นชุด รวม 7 พระปริตร
นอกจากนี้ หน้าปกยังระบุข้อความที่กล่าวถึงผู้สร้างคัมภีร์ว่า “หมู(หมู่) ชุ่มทร่าง(สร้าง) ไว้ไนพระศาสนา ขอให้เป็นปัจจัยแก่พะนิพพานในอนาคตกาลโน้นเถิด”
อ้างอิงข้อมูล
ทองย้อย แสงสินชัย. (2557, 17 พฤศจิกายน). เจ็ดตำนาน. [Facebook]. สืบค้น 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/pfbid0j4f1vmThf75SwKoyupdvhmHbhEDc9rENesnpWTtCjabWvytWLqFk7VQjZEtTzLEql?locale=th_TH
วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถา ไตรภูมิวินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไตรโลกวินิจฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง เป็นต้น ปัจจุบันในวงการวรรณคดีเรียกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา เพื่อให้ต่างจากไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ช่วงเวลาที่มีการแต่งไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาขึ้นนั้นยังไม่พบไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ทั้งสองฉบับมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซึ่งหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เนื้อความของไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 8 ภาค คือ โอกาสวินาสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลกกถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา สภาพเอกสารชำรุดมากเหลือเพียงเล็กน้อยในส่วนที่เป็นภาพวาดเท่านั้น
ตำรายาเรื่องฝีดาษ โรคฝีดาษ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไข้ทรพิษ ไข้หัว เป็นต้น หน้าต้นมีข้อความว่า “ตำราแผนเดื้อน ม˝อพูมสางไว้ยในพระศาสนา ให้ยสืบดสบุตรไปคางหน้า ขอให้ท้นศาตะหนาพระษีรอาร พระนี้ภารอย่าแคล้วเลย ณบ้ตไจโยโหตุ ฯ” ทำให้ทราบว่านอกจากตำราฝีดาษแล้วยังมีตำราแผนเดือนของหมอพูมและภาพรูปคนพร้อมตำแหน่งที่เกิดฝี ชื่อเรียกฝี และความอันตรายของฝีชนิดนั้น ส่วนหน้าปลายหน้าหลัง 3 หน้าสุดท้ายเขียนกลับหัว