พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
ว่าด้วยเรื่องของบทลงโทษ ข้อตกลง การปรับสินไหม ในคดีต่างๆ เป็นกรณีไป ตามแต่ละมาตรา เช่น การทะเลาะวิวาท การบุกรุกพื้นที่ การลักทรัพย์ การด่าทอด้วยคำหยาบคาย การกู้หนี้ยืมสิน การข่มขู่ การซื้อที่ดินไร่นา เป็นต้น ส่วนหลังของหน้าปลายเขียนด้วยดินสอ มีลักษณะเหมือนสมุดบันทึกเรื่องสัพเพเหระ เช่น บทกวี ตำรายาสมุนไพร บทสวดมนต์ คาถาอาคม ยันต์ เป็นต้น ในส่วนของภาพที่ 54 และ 55 นั้น ให้อ่านภาพที่ 55 ก่อน แล้วจึงเป็นภาพที่ 54
คัมภีร์ธาตุพิการ อาการ 32 ลักษณะไข้เหนือต่างๆ คือประดง 6 จำพวก ฝีกาฬ 7 จำพวก แม่ตะงาว 3 จำพวก ปาน 3 จำพวก ฝีเลือด 2 จำพวก ลาดสาด 7 จำพวก สูตรยาเบญจกูลต่างๆ
ตํารายาฉบับนี้จากการสํารวจเบื้องต้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์ตัวอักษรชัดเจน มีจุดลบเลือนบางเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ทราบอายุของเอกสาร เพราะไม่ปรากฏวัน เดือน ปีที่แต่งหรือคัดลอก และไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งแต่อย่างใด ได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าเอกสารชิ้นนี้น่าจะเป็นเอกสารที่หมอเหเป็นผู้เขียนขึ้นเพื่อจดบันทึกความรู้ที่ร่ําเรียนและศึกษามา ซึ่งจดบันทึกยารักษาโรคต่างๆและตัวยาสมุนไพรที่ใช้ทํายา เช่น ยาแก้สารพัดโรคเพื่อบํารุงร่างกาย ยากวาด ยามะเร็ง ยาลม ยาแก้หืดแก้ไอ ยาแก้โรคริดสีดวง ยาแก้บิด ยาทาทวาร ยาแก้โรคสันนิบาต เป็นต้น
ตำรายาเล่มนี้กล่าวถึงยาแก้โรคที่เกี่ยวกับเลือด และตำรับยาอย่างอื่นไว้ได้วย เช่นยาแก้ไข้ทั้งปวง ยาบำรุงโลหิต ยาชื่อเนาวโกฐแก้ไข้ตรีโทษ ยาชื่อมหาสดมแก้โลหิตพิการ ยาไฟประลัยกัลป์แก้โลหิต 18 ประการ ยาแก้เลือด ยาแก้โลหิตตกทวารทั้ง 9 ยาแก้ระดูขัด ยานัตถุ์ชื่อแม่หม้ายผัวร้างแก้ริดสีดวงงอก ฯลฯ
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
หน้าต้นเริ่มด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงยาหม้อสูตรต่างๆ ซึ่งแต่ละสูตรจะมีคาถากำกับตัวยาสมุนไพรแต่ละชนิดไว้ ได้แก่ ยาหม้ออภัยษารี ยานิลรัศมี ยาหอมประทานพิษ ยามหานิลกาฬกระบือ ยารุคุณ ยาคุณพระ(ยาพอก) และยาหม้อคุณพระ หน้าปลายเริ่มต้นด้วยคาถาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ, ก ข จนจบ, คาถาอาการ ๓๒, หัวใจสัตตโพฌชงค์, หัวใจพุทธคุณ จากนั้นเป็นกล่าวถึงคาถาปิดทวารทั้ง ๙ คาถาเสกน้ำสระผม คาถาทำน้ำมนต์ป้องกันอันตราย คาถามหาเสน่ห์ภาพเขียนยันต์และคาถากำกับสำหรับทำตะกรุด และวิธีทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งเป็นคาถาที่น่าสนใจยิ่ง
ตำราดูไข้เป็นเรื่องหลัก มีเนื้อความครบ ต้นเรื่องมีภาพแสดงจุดต่างๆบนร่างกาย แก้โรคต่างๆ เข้าใจว่าเป็นส่วนปลายของตำรานวดกดจุดที่ขาดหายไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องคาถาคงกระพัน หน้าปลายมีคาถาไสยศาสตร์