RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับต้น มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ และ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “โวหารมังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๖ ทุ่ม เดือนสิบเอ็ด แรม ๕ ค่ำ ปีมะเมีย ศักราช สองพัน ๔๗๒ และ ยามนั้นและ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ แล เจ้าที่ไหว้ ตัวอักษรบ่ใคร่ละเอียดเต็มทีอย่าแล้ว”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มงคลทิปปานี” และเขียนอักษรจีนด้วยหมึกดำไม่ทราบความหมาย ท้ายลาน ระบุ “กริยาสังวรรณนาแก้ไขยังโวหารมังคลทีปนี ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนและ ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๕ ทุ่มเศษ เจ้าข้าแล ฯฯะ”
RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าต้น พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ มีอยู่สิบ ๕ ผูกเดียวกันแล ฯะ” / หน้ารอง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หนังสือนี้เอามาจากเมืองเหนือ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาเทศนาแก้ไขยังพุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนและ ฯ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ ฯ” หน้าปลาย ระบุ “๏ หน้าปลาย พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบแล”
เอกสารโบราณฉบับนี้ ตอนต้นกล่าวถึงตำรายา เช่น ยาแก้ไข้ ซึ่งมีเพียงไม่กี่หน้า จากนั้นกล่าวถึงการดูลักษณะของคน วันมงคล เป็นต้น เอกสารโบราณฉบับนี้มีหลายลายมือ ทั้งลายมือแบบบรรจง ลายมือหวัด ตัวอักษรทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนลายเส้น ทั้งเส้นหมึกดำ หมึกน้ำเงิน และดินสอ
เอกสารโบราณฉบับนี้เป็นตำรายา เริ่มด้วยการกล่าวโองการมหาเถรตำแย จากนั้นกล่าวถึงตำราโรคนิทาน อาการโรคและยาสำหรับรักษาโรค โดยผู้เขียนเอกสารโบราณฉบับนี้คือ สมีเอม
หน้าต้น กล่าวถึง ตำรายารักษาโรคซาง อาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา นอกจากนี้ยังภาพวาดเป็นรูปคนและตำแหน่งของโรคอีกด้วย ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง และภาพยันต์ เช่น ยันต์กันศัตรู ยันต์กันหนู เป็นต้น
เอกสารโบราณนี้อาจเป็นเอกสารฉบับเดียวกับ NPT003-010 ที่ขาดจากกันก็ได้เพราะมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือ หน้าต้น กล่าวถึงตำรายารักษาโรคอาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง
อภิธัมมัตถสังคหะ หมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว ต่อมามีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะมาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด 9 ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด
ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก ต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร