มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีีน้ำเงิน “ลายงู ผูก ๒” และระบุ “๏ หน้าทับเค้าลายงู ผูก ๒ แล มีอยู่ ๗ ผูกกับกันแลฯฯ รัสสภิกขุซมพร้[อม]กับด้วยโยมอยู่โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแลท่านเหย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนานิยายลายงู ผู้ถ้วน ๒ ก็สมเด็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วนาฬกาตี ๑๑ ทุ่มคำพอดีแล ทุพี่เหยข้าฟั่งเต็มทีอย่าไปด่าข้าเนอ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อยเหมือนปูยาดคันนา เพราะว่าฟั่งแปลงศาลาเต็มที ทุพี่เหย ๚ รัสสภิกขุซม สร้างเอาเอง ปางเมื่อบวชเป็นภิกขุอยู่วัดดอนแจง เพราะว่าอยากได้บุญเต็มที ขอหื้อผู้ข้าได้เถิงสุข ๓ ประการ ได้เถิงนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ข้าขอกุศลอันนี้ไปรอดญาติโยมพี่น้องครูบาอาจารย์ข้าแด่แลฯฯ๛” หน้าทับปลาย ระบุ “๏ หน้าทับเค้าลายงู ผูก ๓ แลนายเหย มีอยู่ ๗ ผูกกับกันแล รัสสภิกขุซมพร้อมกับด้วยโยมอยู่โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
นิยายลายงู ผูก 2 (RBR003-144). (2564). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=532
นิยายลายงู ผูก 2 (RBR003-144). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=532. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
นิยายลายงู ผูก 2 (RBR003-144). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=532