ตำรายาว่าด้วยเรื่องไข้สันนิบาต สูตรยาสมุนไพรแก้โรคสันนิบาตต่างๆ เช่น สันนิบาตเลือด สันนิบาตนางนวล เป็นต้น แล้วกล่าวถึงกำเนิดไข้ดาวโคมตัวผู้ ไข้ดาวเรือง
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะทาส ๗ ประการ ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสได้มาข้างบิดามารดา ทาสมีผู้ให้ ทาสที่ได้ช่วยเมื่อต้องโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงดูมาในยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย และทาสสินไถ่ การตกเป็นทาสประเภทต่างๆ การตั้งค่าตัว การไถ่ถอน การปฏิบัติตน สิทธิหน้าที่ของทาสประเภทต่างๆ ระหว่างทาสกับนายเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ รวมทั้งกำหนดว่า ทาสคือ คนของพระมหากษัตริย์ ที่นายเงินจะลงโทษถึงตายไม่ได้
พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
วรรณกรรมเรื่อง พระสี่เสาร์ หรือพระสี่เสาร์กลอนสวดนี้ มีที่มาจากชาดกนอกนิบาตคือ ปัญญาสชาดก โดยนำเนื้อ เรื่องจาก “สิโสรชาดก” มาแต่งเป็นวรรณกรรมกลอนสวด ชาดกในปัญญาสชาดกถือว่ามีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งาน วรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เรื่องสมุทรโฆษ เรื่องพระรถเสน เรื่องพระสุธน เป็นต้น สำหรับ เรื่องพระสี่เสาร์นี้ หมื่นพรหมสมพัตสร(มี) กวีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวถึงใน “นิราศเดือน” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาเวสสันดรฉบับนี้ ผู้เขียนได้บอกในตอนท้ายว่าได้เขียนตั้งแต่ต้นคือ กัณฑ์ทศพร จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์ ทั้งหมดสิบสามกัณฑ์ แต่ที่พบมีเพียงกัณฑ์วนปเวสน์จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์เท่านั้นรวมสิบกัณฑ์ เนื่องจากเอกสารไม่สมบูรณ์ เขียนด้วยฉันท์และกาพย์ ตอนสุดท้ายมีประชุมชาดก นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาด้วย ได้แก่ เรื่องการคบมิตรที่ยกเอานิทานธรรมเรื่องนกแขกเต้ามาเป็นตัวอย่าง เรื่องมงคลทีปนี เกี่ยวกับการไม่คบคนพาล โดยยกนิทานธรรมเรื่องพระเทวทัตกับเจ้าชายอชาตศัตรู
ว่าด้วยเรื่องของบทลงโทษ ข้อตกลง การปรับสินไหม ในคดีต่างๆ เป็นกรณีไป ตามแต่ละมาตรา เช่น การทะเลาะวิวาท การบุกรุกพื้นที่ การลักทรัพย์ การด่าทอด้วยคำหยาบคาย การกู้หนี้ยืมสิน การข่มขู่ การซื้อที่ดินไร่นา เป็นต้น ส่วนหลังของหน้าปลายเขียนด้วยดินสอ มีลักษณะเหมือนสมุดบันทึกเรื่องสัพเพเหระ เช่น บทกวี ตำรายาสมุนไพร บทสวดมนต์ คาถาอาคม ยันต์ เป็นต้น ในส่วนของภาพที่ 54 และ 55 นั้น ให้อ่านภาพที่ 55 ก่อน แล้วจึงเป็นภาพที่ 54
คัมภีร์ธาตุพิการ อาการ 32 ลักษณะไข้เหนือต่างๆ คือประดง 6 จำพวก ฝีกาฬ 7 จำพวก แม่ตะงาว 3 จำพวก ปาน 3 จำพวก ฝีเลือด 2 จำพวก ลาดสาด 7 จำพวก สูตรยาเบญจกูลต่างๆ
ตอนต้นกล่าวถึงตำรับยาแก้ไข้จับสั่นสะท้าน ต่อมาเป็นเรื่องไสยศาสตร์ ยันต์ โองการ คาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกแป้งคลึงลมเพลมพัด คาถาปิดทางอบายภูมิ คาถาเสกขี้ผึ้งติดชายผ้า เป็นต้น