มหาเวสสันดร เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมี สมุดไทยมีลักษณะชำรุด ไม่ครบเล่ม
ตำราบันทึกรูปยันต์ คาถาอาคมต่างๆ เกี่ยวกับไสยศาสตร์ เช่น ยันต์พระเจ้าทั้ง 16 ยันต์ใส่ตะกรุด ยันต์ปิดปากหม้อยา ยันต์ลงงบน้ำอ้อย คาถาอาคมต่างๆ เช่น คาถาพญาครุฑ นารายณ์แปลงรูป นารายณ์กลืนไตรภพ เป็นต้น
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ คือ คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ไว้โดยย่อ เหมือนเป็นแบบเรียนเร็วพระอภิธรรม แบ่งเป็น 9 ปริจเฉท ปริจเฉทที่ 1 จิตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง เจตสิกปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมต่าง ๆ 6 หมวด คือ เวทนา เหตุ ทวาร กิจ อารมณ์ และวัตถุ ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดง วิถีจิต ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตที่พ้นวิถีและธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่พ้นวิถี ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดง รูปปรมัตถ์และนิพพาน ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกันได้ ปริจเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกันและแสดงบัญญัติธรรมด้วย ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐาน รวบรวมแสดง อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ คือ สมถะ และ วิปัสสนา
สมุดไทยเล่มนี้เป็นเรื่อง คัมภีร์ปฐมจินดา ว่าตั้งแต่เรื่อง พรมปโรหิต กำเนิดโลหิตระดู จนถึงเรื่องครรภ์รักษา ที่ว่าด้วยการดูแลรักษาครรภ์ของแม่ มียาแก้โรคต่างๆ สำหรับสตรีมีครรภ์ เช่น ยาครรภ์รักษาใหญ่ ยาชักมดลูกเป็นต้น ท้ายเล่มเป็นเรื่อง กำเนิดโรคซางต่างๆ และยารักษา
ตำรายแก้ไข้สันนิบาตต่างๆ เช่น ไข้เหนือ ไข้อีดำอีแดง ยาแก้ฝีดาษ ยาพอกฝี เป็นต้น ท้ายเรื่องมีชื่อตำรับยาว่าเป็นของ "ตาครูจัน"
คาถาอาคมต่างๆ โองการมหาเถรตำแย โองการมะกรูดแปดกิ่ง โองการกำแพงเจ็ดชั้น โองการพระเจ้าห้าพระองค์ คาถาไล่ผีต่างๆ คาถาจับมัดผีลงหม้อ ยันต์ปิดปากหม้อ ฯลฯ
กล่าวถึงตำราห่วง เทพจร มหาฤกษ์ ดูธาตุชายหญิง กรุงพาลี ปลูกเรือน
ตำรามหาฤกษ์ ถ้าจะดูฤกษ์งามยามดี ให้ดูมหาฤกษ์ หรือฤกษ์ใหญ่ โดยถือฤกษ์ตามวันขึ้นแรมในเดือนหนึ่งๆ แบ่งเป็นสองส่วน กล่าวคือ ส่วนข้างขึ้นนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำถึง 15 ค่ำ และส่วนข้างแรม ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ ถึง 14 ค่ำ แล้วกำหนดดูว่า วันขึ้น-แรมไหนจะดีก็ให้ถือฤกษ์ตามนั้น
ตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น ออกดำออกแดง ไข้สันนิบาต และกล่าวถึงกำเนิดไข้รากสาด