เอกสารโบราณ

เส้นตัวอักษร : จาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 905 รายการ (101 หน้า)

SKN001-044 มหาเวสสันดร กัณฑ์มหาพล

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ชาดก , เวสสันดร , มัทรี , กัณหา , ชาลี , ชูชก

เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนจุตฤๅษีให้บอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

SKN001-045 มหาเวสสันดร กัณฑ์กุมาร

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ชาดก , เวสสันดร , มัทรี , กัณหา , ชาลี , ชูชก

พระนางมัทรีทรงบรรทมแล้วพระสุบินบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหาร ครานั้นชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

SKN001-043 มหาเวสสันดร กัณฑ์จุลพน

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ชาดก , เวสสันดร , มัทรี , กัณหา , ชาลี , ชูชก , พรานเจตบุตร

ชูชกหลอกลวงพรานเจตบุตร โดยอ้างว่ากลักพริกกลักขิงเสบียงอาหารที่นางอมิตตดาจัดเตรียมให้อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

SKN001-042 มหาเวสสันดร กัณฑ์วนปเวศน์

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ชาดก , เวสสันดร , มัทรี , กัณหา , ชาลี

พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหา เดินทางถึงนครเจตราชจึงแวะเข้าประทับพักที่ศาลา พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

SKN001-038 ภูริทัต

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ทศชาดก , พระโพธิสัตว์ , ภูริทัต

ภูริทัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมานต่าง ๆ ทั้งที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ

SKN001-037 เนมิราช

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ชาดก , ทศชาดก , พระโพธิสัตว์

เนมิราชกุมารได้ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดี เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา

SKN001-031 กัมมฐาน

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด

ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ และวิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน)

SKN001-032 ชมพูปติสูตร

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ล่องชาด , ธรรมคดี , ชาดก

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

SKN001-034 เตมียะ

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด , ชาดก , เตมียราชกุมาร

เตมียราชกุมารไม่ต้องการครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ด้วยเพราะทรงเห็นพระราชบิดาลงโทษโจรด้วยความทารุณ ทำให้พระองค์ทรงระลึกถึงอดีตชาติที่พระองค์ทรงเคยเป็นพระราชาครองเมืองนี้ และได้กระทำบาปกรรมทำให้ต้องตกนรกถึงแปดหมื่นปี จึงแกล้งทำตัวเป็นใบ้ หูหนวก เป็นง่อย ไม่ว่าพระราชบิดาพระราชมารดาจะทดสอบด้วยวิธีการใด เตมียราชกุมารก็ไม่ปรากฎอาการพิรุธใดๆ จนพระชนมายุ 16 พรรษา พวกพราหมณ์ทำนายว่า เตมียราชกุมารเป็นคนกาลกิณี ให้นำไปฝังเสียที่ป่าช้า โดยมอบให้สารถีขับรถม้าบรรทุกเตมียรากุมารไปจัดการเพียงผู้เดียว ขณะที่สารถีกำลังขุดหลุมเตมียราชกุมารก็ลงจากรถและสนทนากับสารถีว่าตนไม่อยากครองราชย์แต่ประสงค์ออกบวช และได้แสดงธรรมให้สารถีฟัง สารถีเลื่อมใสจึงขออกบวชด้วย แต่เตมียกุมารไม่ยินยอม บอกให้สารถีเอารถไปคืนและแจ้งแก่พระราชบิดาและพระราชมารดาของตน เมื่อฝ่ายคนในวังรู้จึงออกไปทูลให้เตมียราชกุมารกลับไปครองเมือง แต่เตมียราชกุมารปฏิเสธและได้แสดงธรรมให้เหล่าผู้ที่มาทั้งหมดได้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วทำให้เกิดความเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามเตมียราชกุมารทั้งหมด