สมุดไทยบันทึกตำราโหราศาสตร์ ทำนาย พยากรณ์ ต่าง ๆ เช่น ตำราทำนายฝัน, ตำราดูสัตว์ขึ้นเรือน, ตำราทำนายบุตรในครรภ์, ตำรานาคให้น้ำ, ตำราอุทิศฤกษ์, ตำราดูฤกษ์ดี-ร้าย, ตำราวัวสุภราช, ตำราดูเกณฑ์น้ำเกณฑ์ฝน, ตำราดูโชค, ตำราแม่โพสพ, ตำราดูพระเคราะห์เคลื่อน, ตำรานาควัน, ตำราผีหลวง , ตำรานาคดูของหาย, ตำรากรุงพาลี ตำราแรกนา ฯลฯ
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแลท่านเหย || บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๑ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด โทศก ร้อยสิบ ๙ แล้วข้าก็ยังมีศรัทธาพร้อมกับด้วยปิตตามาดาพี่น้องญาติกาวงศาชู่ผู้ชู่คน ขอหื้อสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ข้าขอเอาอายุใบลานเป็นที่เพิ่งแด่เทอะ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่อ(อยู่-เขียนด้วยดินสอดำ)วัดนาหนองแล หนังสือเจ้าจันทฆาต มี ๔ ผูกกับกันแล” และหน้าทับปลาย(เศษลานทำมาใช้เป็นหน้าทับ) ระบุ “แต่ไกลดังอั้นเจ้าก็หนีเข้าไปสู่ป่าหาการตนหั้นแล คันว่านางมารอดเรือนแล้วดังอั้นย่าบริสุทธิ์ก็จิ่งกล่าวเซิ่งนางผ้าขาวว่า ตาต ดูรา เจ้าลูกรักแก่แม่ อันว่า ชายผู้มาจอดเรือนรานี้” และ เขียนอักษรไทยและอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ภิขุธรรมะเสนาอยู่วัดนาหนองฯ”, “ธมฺมเสนาฯ” และ “กล่าวจันทฆาต ผูกสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล”(ตัวเอียง-อักษรธรรมล้านนา)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีแดง “จันทะคาดผูกที่ ๒” หน้ารองหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๓” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทฆาตผูกถ้วน ๓” ด้านหลังเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาต ผูกถ้วน ๓ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วแลนายเหย ๚ ปีชวด โทศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๗ ยามบ่ายแลนายเหย || ยังมีศรัทธาอาวชายธองกับทั้งภรรยา ชื่อว่า นางธิดา ก็พร้อมกันกับลูกเต้าชายหญิง ขอหื้อ[เ]พิ่น ได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ || ตนตัวผู้สร้างอยู่บ้านดอนกอก ก็ว่าหื้อท่าน หร เขียนบ่แพ้ ก็เอาแภแห้วมาหื้อคุณสุวัณระซรX เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองนาหนองมองทองแก้วกว้าง ตนผู้บ้านกอกดอนมีนามกร ชื่อว่า ธอง แดงดา เหย ๑ ผู้ข้าน้อยหน้อยเป็นผู้เขียน ข้าขอสุข ๓ ประการผญาปัญญาเสลียวสลาดเสมอกันแด่เทอะ อกข้าตายเป็นดีอาย เจ้าของพื้นแท้หนอน้อยนอนายน้องเหย รางตัวเท่าช้าง รางตัวเท่าแมว แอวก็เจ็บ ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด ทุพี่พระพี่ก็ดี ได้เล่าได้เรียนตกที่ใด นิมนต์ใส่หื้อจิ่มเนอ อย่าไปด้าข้อยเนอ โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ เป็นดีอายพื้นแท้หนอ เป็นดังไก่เขี่ยหญ้า ปูหน้อยยาดคันนา อย่าบ่เขียนก็เขียน ทุคือ โห่ บ่ได้เป็นดี ใคร่ไห้แท้เด อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แด่เทอะนาย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาเมจิกสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “จันทคาดผูกที่ ๑” หน้าหลังเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูกต้น” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกต้น มีกับกัน ๔ ผูก แลเจ้า” ท้ายลาน ระบุ “มังคละวิวาห กิริยาอันกล่าวจาเถิงยังจันทฆาต ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้บ่ดีบ่งาม ใหม่แลท่านเจ้าองค์ใดได้เล่าได้เรียนได้เทศนา นิมนต์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันผ่อบ่ถี่ก็บ่รู้จักตัวแล เหมือนไก่เขี่ยหัวมองนั้นแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าข้าแด่เทอะ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ ออก ๔ ค่ำ วัน ๖ ยามแล้งงัวความต้อมตีนบ้านแลเจ้าเหยนายเหย ตนตัวข้าขอสุข ๓ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ขอหื้อสติผญาปัญญาเหลี้ยมแซวเสลียวสลาดอาจชู่บทแท้ดีหลีแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” ลานที่สอง ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “จันทฆาตจันทฆาต” ท้ายลาน ระบุ “จนฺทฆาฏกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จเสด็จเท่า[นี้]ก่อนแล บอระมวลวรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล้วแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงและดินสอดำ
พระมาลัยเป็นพระอรหันต์จากลังกา เป็นพระที่ได้บรรลุอิทธิวิธี คือสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ด้วยอานิสงส์จากการถวายทานและปฏิบัติฌานสมาบัติ พระมาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีฤทธิ์รองลงมาจากพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้รับยกย่องในเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก เรื่องพระมาลัยเป็นตำนานเล่าขานในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและในประเทศลาว ในเรื่องเล่าว่าพระมาลัยได้ลงไปในนรกและได้ไปสอนธรรมโปรดชาวนรก ท่านได้ไปรู้ไปเห็นว่าสัตว์นรกถูกลงโทษตามผลกรรมตามนรกขุมต่าง ๆ อย่างไร
หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า ปัญหาราชสูตรแล ฯฯ:๛” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ เสด็จแล้ววันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา ๚ หน้าทับเค้าปัญหาราชสูตร รัสสภิกขุหนูถอด อยู่บ้านหัวขัว มีศรัทธามาหื้อรัสสภิกขุ เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อยแลนายเหย รัสสภิกขุได้เทศนาค่อยพิจารณาดูหื้อดีแด่เทอะ ฯฯ”