มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๒ โชติกเสรฏฐี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๓ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “โชติกะเศรษฐี มี ๔ ผูก” หน้าทับต้น “เมณฑกเสฏฐี ผูก ๓ แลท่านเอย๛”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาคอแร้ง “เมณถก่เสดถี” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอ “ดอนแจง” ท้ายลาน ระบุ “เมณฑกวตฺถํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสำแดงเมณฑกวัตถุผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนแล๛หน้าต้นหนังสือเมณฑกเสฏฐีแล ๏ ฯ เสด็จแล้วปีมะโรง จัตศก ตกอยู่ในคิมหันตฤดู เดือน ๗ แรมสิบ ๑ ค่ำ วัน ๒ แลเจ้าที่ไหว้ [นิพฺ]พาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่ ๛ มีรอยแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เห็นคำ”, ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “เหนฅำ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวรรณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ เสด็จแล้วจบบ่าย ๒ โมงแลนายเหย ปีวอก เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ วัน ๗ แลนายเหย รัสสภิกขุฅำ อยู่วัดนาหนอง บ้านอยู่นาหนอง ข้าได้สร้างธรรมเหนฅำผูกนี้ ข้าขอสุข ๓ ประการแด่เทอะ ขอหื้อไปรอดพ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ใจบ่ตั้งเหตุว่าใคร่สิกข์เต็มทีแลเจ้าเหย ตัวใหญ่ก็ใหญเท่าช้าง น้อยก็น้อยเท่าหิ่งห้อย บ่เท่ากัน ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด เสียหลายแลนายเหย บ่อเคยสักคำเทื่อแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าหีแม่ข้อยเนอ ทุพี่พระพี่เหย ผิดที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ข้าขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอด ธุวํ ธุวํ แด่เทอะ หน้าทับเค้าหนังสือเหนฅำผูกเดียวนี้ม่วนหลายแท้เนอ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน สีแดง และดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก ลานแรก ระบุ “นกแรฅำ ผูกปลาย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววัน ๗ เดือน ๑ ใต้ เดือน ๑๐ เหนือ แรมสี่ค่ำ ข้าเขียนบ่งามสักน้อย เหมือนไก่เขี่ยหัวมอง ศรัทธานางเมาหาโปฏกยังใบลานมา ข้าชื่อว่า หนานมูร” ผู้จารเป็นคนเดียวกันกับ RBR003-126 มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
หน้าทับเค้าระบุ “ฯı เขียนยามเมื่ออุปสมบทอยู่วัดดอนแจง ฯ ฯı หน้าทับเค้าพุทธตำนานแลท่านเหย ฯ๛๛ฯ ฯı ตัวบ่ดีสักน้อยเหมือนปูน้อยยาดหัวคันนา ฯ”, “เป็นที่ระลึก” และ “๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ครั้นว่าตายไปตกที่ร้ายขอหื้อ ฯı๛ ๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ยกย้ายขึ้นสู่ที่สูงแด่เทอะฯ๛” ท้ายลานระบุ “จบราทธนาเทศน์เท่านี้ก่อนแลท่านทั้งหลายเหย ฯı๛” หน้าทับปลายระบุ “หน้าปลายพุทธตำนานแลท่านเหยนายเหย ฯı๛ พระเวียนเขียนยามเมื่ออยู่วัดดอนแจงนี้แล ฯı๛”, “เป็นเป็นที่พระระลึก” และ “เสด็จแล้ววันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ๓ โมงเช้า ฯı ปีวอก พระพุทธศักราชได้ ๒๔๖๗ ฯı๛”
หน้าทับเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มัทรีป่าเพียวเทศขัก” และเขียนปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” ท้ายลานระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนายังมัทรีปริเจทอันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่าได้ ๙๐ ทัส ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ ยามบ่ายโมง ๑ กับ ๒๕ ภินิด แลเจ้าเหย รัสสภิกขุอินธสอนเขียน บ่ดีขัด อาวชายเหือน กับภริยาชื่อว่า นางนา อยู่ดอนกอก ก็พร้อมกับด้วยลูกหญิงลูกชาย ก็อุบายหาใบลานหื้อภิกขุอินธอง สร้างหนังสือมัทรีฉบับป่าเภียว ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อผู้สร้างผู้เขียน สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ หมู่ผู้ข้าทั้งหลายได้สร้างธรรมเขียนธรรม หมู่ข้าน้อยทั้งหลายก็พาเอากันปรารถนาเอาสัพพัญญุตญาณสิ่งเดียวแลเจ้าเหย เขียนบ่ดี สติบ่ตั้ง เพราะสาวบ้านเค้ามะคร้อ ครั้นว่ามันมาวัด มันเหลียวมาผ่อแต่หน้า ครั้นข้าบ่ผ่อก็อดบ่ได้ ครั้นข้าผ่อไป มันบิดหน้าหนี อีสาวอัปรีย์ช่างผ่อหน้าทุแลนา ขอหื้อมีประหญาปัญญาอันเฉลียวฉลาดชูตัวธรรม อย่าหื้อเป็นกรรมเป็นเวรแก่ข้า ขอหื้อบุญอันเขียนตัวธรรมนี้ไปลูบ(ลบ)ตัวกรรมตัวเวรอันกระทำมาหื้อเสี้ยงแด่เทอะ [นิพฺพา]น ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ”
หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงระบุ “โมคคัลลาหลงโลก” ลานแรกด้านซ้ายมือระบุ “โมคคราโหลงโลก” เขียนเลขไทยกำกับหน้าด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินด้านซ้ายมือของลานหน้าหงาย “๑ - ๑๖”, เขียนภาษาไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินกำกับชื่อบุคคลในเนื้อหา และเขียนแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีแดง ท้ายลานระบุ “มหาโมคฺคลฺลานชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาเทศนายังมหาโมคคัลลานเถรเจ้าอันไปหลงโลกอันออกมาในฏีกาธรรมบทก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ จบแล้วเจ้าศรัทธา ทุพี่ค่ำก็พร้อมกับโยมแลน้องสร้างไว้ค้ำชูพระศาสนาโคตมเจ้านี้ก็ขอหื้อมีสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดชู่ผู้ชู่คนแลเจ้าเหย บ่ใคร่ดีหลาย ทุพี่ค่ำเหย มันผิดทัดใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่เหยผ่อไปตามันช่างลายเสียแลนา ทุพี่เหย ๚๛”
หน้าทับเค้าเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินระบุ “มหาวิบาก เรื่องเปรต ไม่มีภิกษุ” ท้ายลานระบุ “กล่าวห้องมหาวิบากตามอันย่อแคบ ก็สมมุติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ เสด็จแล้วตาวันรอแลงแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดี อย่าไปเล่าขวัญหัวข้าเนอ พ่อแม่ข้ามีศรัทธามาลาไปซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าน้อยเขียน พ่อชื่ออยู่ แม่ชื่อมาก มีใจศรัทธาซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าเขียนแลฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนดินสอสีฟ้า ระบุ “หนังสือนายมี(อักษรธรรมล้านนา) หนังสือนายมี(อักษรไทย)” มีการแก้ไขคำศัพท์และเพิ่มเติมวรรณยุกต์ด้วยปากกาลูกลื่น
สมุดไทยบันทึกวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง ท้าวลินทอง