RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1-6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอมผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วยามแถจักใกล้ค่ำ พร่ำว่าได้ปีขาล เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๑ แลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีบ่งาม ใหม่แล เหตุใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ตกกับผิดเสียแควนหลาย ขออย่าไปด่าจาขวัญข้าแท้เนอเจ้าเนอ นายเนอ ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อย บ่เสมอแท้แล ๛ ข้าขอกุศลบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดาครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ เอ้ย(เอื้อย) อ้าย น้อง ข้า จิ่มเทอะ” หน้าทับปลาย ระบุ “เขียนเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ร.ศ.๑๐๙ เขียนเมื่ออยู่วันดอนตะโกและ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอ
ปทุมบัวหอม ผูก 2 (RBR003-177). (2564). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=565
ปทุมบัวหอม ผูก 2 (RBR003-177). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=565. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
ปทุมบัวหอม ผูก 2 (RBR003-177). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=565