วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถา ไตรภูมิวินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไตรโลกวินิจฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง เป็นต้น ปัจจุบันในวงการวรรณคดีเรียกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา เพื่อให้ต่างจากไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ช่วงเวลาที่มีการแต่งไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาขึ้นนั้นยังไม่พบไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ทั้งสองฉบับมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซึ่งหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เนื้อความของไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 8 ภาค คือ โอกาสวินาสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลกกถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา สภาพเอกสารชำรุดมากเหลือเพียงเล็กน้อยในส่วนที่เป็นภาพวาดเท่านั้น
สมุดไทยฉบับนี้บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย สภาพเอกสารไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายหายไป และขาดแหว่งบางส่วน เนื้อหากล่าวถึงตำรายารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาสว่างอารมณ์น้อย ยาสว่างอารมณ์ใหญ่ ยาลมบ้าหมู ยาลมกล่อน ยาแก้กาฬ เป็นต้น
สมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ลายมือเป็นระเบียบสวยงาม อ่านง่าย และมีการบุว่า “ผู้คัดลอก คือ นายทรง”
ตำรายาสูตรต่างๆ เช่น ยาแก้สันนิบาต ไข้ลากสาด ไข้ฝีดาษ เป็นต้น ในหน้าปลายกล่าวถึงคัมภีร์อาไภยสาลี
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
ตำราดูไข้เป็นเรื่องหลัก มีเนื้อความครบ ต้นเรื่องมีภาพแสดงจุดต่างๆบนร่างกาย แก้โรคต่างๆ เข้าใจว่าเป็นส่วนปลายของตำรานวดกดจุดที่ขาดหายไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องคาถาคงกระพัน หน้าปลายมีคาถาไสยศาสตร์
เลขทะเบียน 65 ตำรายาแผนโบราณ
เรื่องนี้ระบุผู้แต่ง อาจารย์หมอคลาย บ้านเกาะเกร็ด จารเสร็จเมื่อ จ.ศ.1228 (พ.ศ.2409)