เอกสารโบราณ

คำประพันธ์ : ร้อยแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,277 รายการ (142 หน้า)

SAC001-015 ปาราชิกังและปาจิต

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , พม่า , บาลี , ธรรมคดี , ใบลาน

ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน และว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์

SAC001-011 ภิกขุนี ปาจิต และ วินัย ปาจิต

ธรรมคดี
พม่า , บาลี , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์ หมายถึง “การละเมิดอันยังกุศลให้ตก”, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งจัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง ;เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก 92 ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท 122 ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ศักราช จ.ศ. 1142 (พ.ศ. 2323) เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 12 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-020 ปาจิต ปาฬิ

ธรรมคดี
อนาโตล , พม่า , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์ หมายถึง “การละเมิดอันยังกุศลให้ตก”, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งจัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง ;เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก 92 ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท 122 ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ศักราช จ.ศ. 1123 (พ.ศ. 2333) เดือน 5 ดับ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด. ใบลาน ฑา หักส่วนหัวลาน, ใบลาน ทา หักส่วนท้าย และใบลาน ธํ ขาดส่วนท้าย รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 21 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-023 นาม นิสสยะ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , บาลี , อนาโตล , ใบลาน , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง นาม แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ;นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป ศักราช จ.ศ. 1205 (พ.ศ. 2386) เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ วันศุกร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด, เส้นอักษรบาง ไม่ชัด ผิวใบลานสีไม่สม่ำเสมอ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 24 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-024 สิทธิ ปาฬิ

ธรรมคดี
ใบลาน , เอกสารโบราณ , พม่า , บาลี , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

สิทธิบาฬิ อาจเป็นบาลีไวยกรณ์ ศักราช จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ สภาพของเอกสาร แตกผูกมารวมกัน สามารถแยกได้ประมาณ 5 เรื่อง มีไม้ประกับ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 25 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ บันทึกอื่น ๆ ลานชุดที่ 3 น่าจะเป็นชุดเดียวกันกับ คัมภีร์อักษรพม่า 29 อะนุโมทะนา ลังการะ (พระธรรมพระเจดีย์ 4 องค์) เนื่องจากมีรูปอักษรตรงกัน ประกอบกับมีลำดับอังกาต่อเนื่องกัน ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 58 ใบ รวมทั้งหมด 180 ใบ”