เสียเคราะห์ คือพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า อำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะบุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เนืองๆ นั้นเพราะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติกระทำ หรือถูกสิ่งที่ชั่วร้ายเข้าสิงในร่างกายทำให้บุคคลผู้นั้นทำกินไม่ขึ้นหรือไม่เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นจำเป็นจะต้องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไป ใบลานหน้าแรกมีข้อความเขียนว่า “อันนี้แต่งแต่เด็กน้อยแลเจ้าเฮย” หมายเหตุ ใบลานมีหลายขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/39 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “เสียเคราะห์ 2 : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4847-4848.
ใบลานมี 2 ขนาด สันนิษฐานว่าน่าจะคละจากผูกอื่นปนกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/37 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/70 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/69 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
คำสวดกรรมวาจาจารย์ หรือคำบอกอนุศาสน์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่ให้ปฏิบัติตาม คำว่า บอกอนุศาสน์ ใช้ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระอุปัชฌาย์หรือพระเถระที่พระอุปัชฌาย์มอบหมาย บอกคำสั่งสอนหรือคำชี้แจงให้พระภิกษุที่บวชใหม่ทราบทันที ในตอนท้ายของพิธีอุปสมบท อนุศาสน์ มี 8 ข้อ แบ่งเป็นข้อที่ภิกษุควรประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ ออกบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนต้นไม้ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. ส่วนที่พระภิกษุต้องไม่ประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ เสพเมถุน ลักของผู้อื่น ฆ่าสัตว์ และพูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ทั้ง 8 ข้อนี้เรียกว่า อนุศาสน์ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/38 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง บอกอนุศาสน์ (10 พฤศจิกายน 2554) จากเว็บไซต์ http://legacy.orst.go.th/?knowledges=บอกอนุศาสน์-๑๐-พฤศจิกายน
ตำรายา กล่าวถึงยารักษาโรค เช่น ยากะยือ ยาเล็ด ยาแก้ปวดหลัง ยาหมากโหก ยาแก้ไข้ ยาเลือด ยาชุมน้อย ยาแก้ไอ ยาแก้ปวดหลัง ฯลฯ และปรากฏปีที่สร้าง พ.ศ.2536 ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/35 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานบางแผ่นขาดมีการซ่อมแซมด้วยการติดสก็อตเทป
ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาลงเลือด แก้หมากไม้ แก้ไข้ เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/34 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานปนกัน คละผูก
ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงโรคและตำรับยาสำหรับรักษาโรค อาทิ ยางูตอด ยาซะดวง ยาคันทะมาลา ยามะเร็งกระดูก ยาคางเข้ากับ ยาแก้ปานดำปานแดง ยาเทรียดไฟ ยาลวงแก้ว ยาลมนอก ยาแก้พิษ ยาเหือดจม ยาฝน ยาทา ยาตุม ยาลงคาง ยาเป่า ยาเส้นเอ็นทั้งมวล ยาแก้ลมทั้งมวล ยาลงท้อง ยาฝีหัวอ่อน ยาฝนทาฝี ยาไข้ตีนกำมือกำ เป็นต้น ตำรับยารักษาโรคที่ปรกฏในหนังสือ ตัวอย่างเช่น ยาลวงแก้ว เอารากบัวหลวง รากพร้าว รากตาล รากหญ้าคา รากหญ้าปากควาย หญ้าแห้วหมู เอาข้าวเจ้า อ้อยดำ ถั่วซะแดด มาตำดอมกันแช่ปั้นเอาสะแพงน้ำนมแฟง ๑ ประสมกับน้ำยาผงคาน้ำใส่เดินตัดกินดีแล หน้าสุดท้ายมีข้อความเขียนว่า “ไผยืมไปอย่าอำเอาเทินบีดีแล” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/31 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลาน 2 อักษร และขนาดใบลานต่างกัน คาดว่ามาจากคนละผูก