ท้าวลินทอง เป็นการตั้งชื่อเรื่องจากตัวละครเอกที่ชื่อ “ลินทอง” เพื่อสอดคล้องกับตัวละครเอกที่ในอดีตชาติ “ลินทอง” เป็นพระโพธิ์สัตว์กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ลินทอง เป็นวรรณกรรมศาสนา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ เรื่องการทูต หรือเรื่องคารมเสน่หา จนในปัจจุบันผู้คนนิยมเอาคาถาลินทองไปเจรจาธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในการจีบผู้หญิง
พระสูตร คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่แสดงในเรื่องของสัตว์ บุคคล ที่แสดงกับบุคคลต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ ซึ่ง พระไตรปิฎก คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งเริ่มจากการที่พระเถระในอดีต ผู้มีปัญญามาก มีท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอานนท์ ท่านพระอุบาลี รวบรวม ด้วยการทรงจำไว้ด้วยปัญญาอย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องจดบันทึก จึงไม่ได้มีพระสูตรเล่มอื่นๆ ขึ้นมาอีก
คัมภีร์ปฐมจินดา เป็นตำราแพทย์แผนไทยที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก สมุดไทยฉบับนี้กล่าว ตำรับยาที่เกี่ยวกับการรักษาโรคของทารก เช่น ญารักษาโรคซาง ยากวาด ยาสุม เป็นต้น
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
สมุดไทยบันทึกตำรายาและตำราไสยศาสตร์ประเภท คาถาอาคมต่าง ๆ หน้าปกเขียนเป็น “ตำรายา” มีข้อความด้านในว่า “เขาแช่งไว้ไม่ให้ใครเอาเรียน” มีบันทึกวันเดือนปีเกิด “เอื้อยเธด เกิดปีระกา อายุ ๓๕ ปี เอื้อยเธด ตายเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ ปีมะแม ศักราชล่วงไปได้ ๒๔๖๒ วันล่วงได้ ๒๓” มีบันทึกทั้วไป “ซื้อของหมด ๑๐๖ สิบบาท”, “บาเปื่อง เกิดปีมะเส็ง เดือน ๑๑ ขึ้นค่ำ ๑ วันจันทร์”, “บาโห้ เกิดปีฉลู เดือนสี่ แรม ๑๓ ค่ำ”
สมุดไทยมบันทึกตำรายาสมุนไพรโบราณ เช่น ยามหานิล, ยากาน, ยาพ่นถอนพิษไข้ถอนพยาธิ, ยาเหลืองใหญ่, ยาเหลืองน้อย, ยาจุดกาน, ยาทรางธาน, ยาทรางขโมย, ยาแก้ลม, ยาผู้หญิงกินอยู่ไฟ, ยาแก้ทรางแดง, ยาคันธรักษา, ยากวาดปากเด็ก, ยาสดกินแก้เลือดทั้งปวง, ยากวาดรุทรางเด็ก, ยามะโหก ฯลฯ