ข้าเขียนแล้ววัน ๓ แรม ๑๐ ค่ำเดือนเจียง ปีสีมะโรง สร้างไว้ค้ำชูพระพุทธศาสนาชั่วอายุใบลาน ข้าพเจ้าธรรมสอนเป็นผู้สร้างพระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสี่ร้อยห้าสิบเก้า ขอหื้อได้เป็นประจัยแก่พระนิพพาน น ปจฺจโย โหตุ เม แก่ข้าพเจ้า ธุวํ ธุวํ ดังนี้แลนายเหย หน้าปลายบรรพชาแลท่านเอย สองลานสุดท้าย จารด้วยอักษรขอมไทย และอักษรธรรมล้านนา
หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มัทรีเรียกขวัญม่วนหลับเลย” และเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรีผูก ๙” ลานสุดท้ายจาร “มัทรีเรียกขวัญม่วนบ่หาย” ท้ายลานระบุ “มทฺทีปพฺพํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚๛ฯ จบมัทรีเรียกขวัญมวลบ่หายพอคลั่งไคล้เหงาหลับพุ้นแลนายเหย นิจฺจํ นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ”
พระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ) คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์
คำว่า “แจง” แปลว่า ขยายความ กระจายความ ใช้เรียกการเทศน์สังคายนาหรือเทศน์สอบทานพระธรรมวินัยโดยเฉพาะในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 นิยมเรียกการเทศน์ในลักษณะนี้ว่า “เทศน์แจง” ดังนั้น “การเทศน์แจง” คือการเทศน์เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา เนื้อหาของการเทศน์แจงคือขยายความข้อธรรมและข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อพอให้เป็นกริยาบุญ นิยมเทศน์ในงานศพของผู้ใหญ่ โดยถือว่าการเทศน์แจงเป็นบุญใหญ่ เป็นการรักษาพระธรรมวินัยไว้ เป็นการเลียนแบบการทำสังคายนาครั้งแรก ซึ่งมีผลทำให้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้ “การสวดแจง” ก็คือการสวดสาธยายพระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรมโดยย่อโดยนิยมสวดในงานฌาปนกิจ อ้างอิง เทศน์แจง-สวดแจง. ข้อมูลจาก https://cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=776:2012-06-29-02-30-52&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=14 ภาพประกอบ : หน้าปกลงรักปิดทองลายดอกพิกุล ภาพวาดลงสีสวยงาม รหัสเอกสารเดิม : เลขทะเบียนเดิม 27
ตจปญฺจกกมฺมฏฐานกถา (อุปัชฌาชย์สอนนาค) ภาพวาดเทวดาในกิริยาท่าทางต่าง ๆ จำนวน 2 หน้าลาน หอสมุดแห่งชาติให้เลขทะเบียนที่ 468/1
ในหน้ารองสุดท้ายของพับสา ระบุว่า “ข้าพเจ้าพระกาซเรอยู่บ้านเมืองฅอน เป็นผู้เขียนธรรมไว้กับศาสนาพระเจ้า” ศักราช จ.ศ. 1285 (พ.ศ. 2466) สภาพของเอกสาร ห่อกระดาษสาบาง ปกและขอบพับทาสีแดง เขียนด้วยหมึกสีดำ รหัสเอกสารเดิม LPR. 733/2544 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้