เอกสารโบราณ

หัวเรื่อง : ธรรมคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 816 รายการ (91 หน้า)

PBI001-007 บทสวดมนต์

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

เอกสารโบราณเป็นใบลานขนาดสั้น เรียก ใบลานก้อม (ขนาดสั้นกว่าใบลานขนาดปกติเกือบครึ่งหนึ่ง) จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี หน้าลานติดแผ่นทองคำเปลวในหน้าแรกก่อนขึ้นบทสวดมนต์

RBR003-200 จันทฆาต ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , จันทฆาต

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๐ จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏ต้นจันทฆาต ผูก ๔ แลนายเอย”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาต ผูก ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “จันทคาด”

ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกปลาย ถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอัน[กล่าว/แก้ไข/เทศนา]ยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล /// เสด็จแล้ว จันทร์ แลนายเอย รัสสภิกขุเภด(เพชร) เขียนไว้ค้ำชูพระศาสนา เขียนแล้วยามเมื่อฉันจังหัน ข้าสร้างหนังสือกับ ข้าขอส่วนบุญไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องเขาคุคนแด่เทอะ ข้าเกิดมาชาติหน้า ขอหื้อได้สุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอดแลนายเอย // ข้าเขียนบ่งามสักหน้อย ใจบ่ดีเพราะนางมัทรีอยานิผากข้างเพราะรักมันเต็มทีแลนาย // ใจบ่ดีเพราะได้หันตัวแม่เพราแพรมันใคร่สิกข์เต็มทีแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวเท่าแมวลางตัวเท่าช้าง๛ ”

PBI001-005 พระปถมมาดิกา นิฎฐิตา

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

ข้อความท้ายคัมภีร์ใบลานมีระบุผู้จารคัมภีร์ฉบับนี้ ความว่า “พระคาถานี้ แผ่ส่วนบุญ ไปให้สัตว์ ทั้งหลาย อย่าได้เป็น เวรแก่กันเลยแล ฯข้าฯ ผู้มีชื่อ พระสมุห์เกิดเป็นผู้จารึกพระอักษฺรทั้งหลายนี้แล”

PBI001-004 พระสตฺตปริตฺร บริบูรณ์

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

“สัตต” บาลีเขียน “สตฺต” แปลว่า เจ็ด, “ปริตร” บาลีเขียน “ปริตฺต” แปลว่า การป้องกัน, การรักษาให้ปลอดภัย; ของขลังสำหรับป้องกันตัว, ของที่ช่วยบรรเทา, เครื่องราง
สัตตปริตร คือบทสวดมนต์เจ็ดบท หรือ “เจ็ดเรื่อง” คือ พระปริตรที่มีอำนาจคุ้มครองป้องกันตามเรื่องต้นเดิมที่เล่าไว้ว่าแต่ละบทมีต้นกำเนิดมาอย่างไรและมีอานุภาพเป็นเช่นไร ซึ่งได้จัดรวมเป็นชุด รวม 7 พระปริตร

นอกจากนี้ หน้าปกยังระบุข้อความที่กล่าวถึงผู้สร้างคัมภีร์ว่า “หมู(หมู่) ชุ่มทร่าง(สร้าง) ไว้ไนพระศาสนา ขอให้เป็นปัจจัยแก่พะนิพพานในอนาคตกาลโน้นเถิด”

อ้างอิงข้อมูล

ทองย้อย แสงสินชัย. (2557, 17 พฤศจิกายน). เจ็ดตำนาน. [Facebook]. สืบค้น 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/pfbid0j4f1vmThf75SwKoyupdvhmHbhEDc9rENesnpWTtCjabWvytWLqFk7VQjZEtTzLEql?locale=th_TH

PBI001-003 บทสวดมนต์

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

เอกสารโบราณเป็นตัมภีร์ใบลานขนาดสั้น จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย มีแผ่นทองแปะหน้าแรก เนื้อหาเกี่ยวพระพุทธศาสนา เรื่องบทสวดมนต์

BKK001-020 พระอภิธรรม

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , หลวงปู่เอี่อม , พุทธศาสนา , อภิธรรม , ยมก , ปุคคล , ปฐาน

พระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ) คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ หมายเหตุ เอกสารโบราณฉบับนี้เนื้อหาขาดไปไม่ครบฉบับ

NPT005-009 พระอภิธรรม

ธรรมคดี
วัดบางช้างใต้ , พระอภิธรรม , นครปฐม , พระหัสนัย์ , พระวินัย , พระสูตร , มหาโมคคัลานเถรโพชฌงค์ , มหาจุนทะเถรโพชฌงค์ , พระกิริยานันทสูตร , พระมหาสมัย

สมุดไทยขาวเขียนด้วยอักษรขอมไทยเป็นภาษาบาลี คาถาต่างๆ ดังนี้ พระอภิธรรม พระหัสนัย์ พระวินัย พระสูตร มหาโมคคัลานเถรโพชฌงค์ มหาจุนทะเถรโพชฌงค์ พระกิริยานันทสูตร พระมหาสมัย ในตอนท้ายได้ระบุชื่อคนทำคัมภีร์ว่าชื่อ “พูน” โดยบอกว่าจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนพระคุณบิดา มารดา และพระคุณผัวที่ได้รักษาตัวเอง ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า “พูน” เป็นสตรี และในอดีตสตรีจะไม่ได้รับการสอนให้เขียนหนังสือ ดังนั้น “พูน” น่าจะเป็นศรัทธาว่าจ้างให้คนเขียนคัมภีร์นี้ขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาทดแทนคุณบิดา มารดา และสามี

NPT001-005 พระมหาเวสสันดรชาดก

ธรรมคดี
วัดท่าพูด , มหาชาติ , กัณฑ์วนปเวสน์ , นครกัณฑ์ , มัทรี , ชูชก , จุลพน , มหาพน , กุมาร , สักกบรรพ , มหาราช , ประชุมชาดก , มงคลทีปนี , การคบมิตร , พระเทวทัต , พระเจ้าอชาตศัตรู

พระมหาเวสสันดรฉบับนี้ ผู้เขียนได้บอกในตอนท้ายว่าได้เขียนตั้งแต่ต้นคือ กัณฑ์ทศพร จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์ ทั้งหมดสิบสามกัณฑ์ แต่ที่พบมีเพียงกัณฑ์วนปเวสน์จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์เท่านั้นรวมสิบกัณฑ์ เนื่องจากเอกสารไม่สมบูรณ์ เขียนด้วยฉันท์และกาพย์ ตอนสุดท้ายมีประชุมชาดก นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาด้วย ได้แก่ เรื่องการคบมิตรที่ยกเอานิทานธรรมเรื่องนกแขกเต้ามาเป็นตัวอย่าง เรื่องมงคลทีปนี เกี่ยวกับการไม่คบคนพาล โดยยกนิทานธรรมเรื่องพระเทวทัตกับเจ้าชายอชาตศัตรู