สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี แทรกเล็กน้อย
ในส่วนหน้าต้น กล่าวถึงเรื่องโหราศาสตร์เป็นบทประพันธุ์ร้อยกรอง เช่น
“ วันอาทิดใหนายทับนุงแดง เสีอแสงโลหิดวัดถา
วันจันนุงข้าวผองตองตำมรา วันอังคางนุงมวงชวงฉาย
วันพุทนุงชุมพูดูดี ตามหาพิไชยรุศวัดดี
เสีอสวมกายโภกเสียรตามสี เสีอสีดุจะนุงรุงเรีอง
วันพระหัดนุงสีแสดสลับ ประดับกายแกดกอนอาภอนเหลีอง
วันศุกให้นายทับประดับเครีอง วันเสานุงดำอำไพ้ย
มาขีสีตามอัถฏวอน นุงสีเมกเหลีองอลังการ
ชอบพิไชณรงรานชานสมอน ทินณกอรมกบังบนนํพา”
หน้าปลาย เรียบเรียงเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว กล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาเสกขี้ผึ้ง คาถาต่อกระดูก เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึง ตำราดูฤกษ์ยาม วันดีวันร้าย วันเหมาะสมที่จะกระทำกิจธุระต่าง ๆ เช่น ตำราปลูกเรือน ฤกษ์ลงเสาเข็ม การทำนายเรื่องน้ำท่าในการทำนาทำไร่ เป็นต้น
สมุดไทยขาว เขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลีแทรกเล็กน้อย กล่าวถึงคัมภีร์รักษาโรคต่าง ๆ เช่น คัมภีร์อภัยสันตา คัมภีร์ปถมจินดา คัมภีร์อติสาร ซึ่งในหน้าต้นเขียนเป็นร้อยกรอง ตัวอย่างเช่น “อาทิดทรางไฟยสำคัน ทรางนำอรรยจรรณั ทรางแดงนันอังคาน อันพุดสกอเกอกาน ครุอนบนดานกำเนีดนัน ทรางฅาวี อันสุกทรางเสารี ทรางโจนนันนีมี กำเนีดประจำต่ามอรร” (อาทิตย์ซางไฟสำคัญ ซางน้ำอัศจรรย์ ซางแดงนั้นอังคาร อันพุธสกอเกอกาน ครุวันบนดานกำเนิดนั้น ซางคาวี อันศุกร์ซางเสาร์ ซางโจรนั้นนี้มี กำเนิดประจำตามวัน- ภาษาไทยปัจจุบัน) และ “จบคำพีนึง แต่เทานี จบเดือนสิบแรมสิบ 3 คำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยนึง” (จบคัมภีร์นี้แต่เท่านี้ จบเดือนสิบ แรม 13 ค่ำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยหนึ่ง-ภาษาไทยปัจจุบัน) จากนั้นเป็นข้อความร้อยแก้ว "๏ นาตำกำพีขาวดีงเกสาแล" (หน้าต้น คัมภีร์ขาวดึงเกสาแล-ภาษาไทยปัจจุบัน)
สมุดไทยขาวฉบับนี้เขียนด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย อักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ การตั้งตรีนิสิงเห การเขียนยันต์ การกำกับคาถา เป็นต้น
คัมภีร์ใบลานขนาดสั้น จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และอักษรไทย ภาษาไทย ในส่วนของอักษรขอมไทย สลับกับอักษรไทย เป็นการเขียนบาลีร้อยพบเพียงเล็กน้อย จากนั้นจารด้วยอักษรไทย ภาษาไทย
เนื้อหาของคัมภีร์ใบลานฉบับนี้อยู่ในหมวดเวชศาสตร์ กล่าวถึงคัมภีร์ปรีญาณสูตร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดศีรษะ แก้กระหายน้ำแก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยร่างกาย แก้ดีแตก แก้ลงแก้ราก เป็นต้น
เอกสารโบราณเป็นคัมภีร์ใบลานขนาดสั้น ชื่อเรื่อง ตำราสัพะคูน กล่าวถึง ตำรับยาและการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น “วัน ๑ บดขิง วัน ๒ บดแห้วหมู วัน ๓ บดพิลังกาสา ถ้ามิได้เอาลูกตุมกาเครือ วัน ๔ บดขมิ้นอ้อย วัน ๕ บดพริก วัน ๖ บดดีปลี วัน ๗ บดใบสะเดา เมือ่จะประสมกันจึงเอามูตรวัวดำคุการด้วยกันบดจงละเอียด ปั้นเป็นแม่งตากในร่ม ถ้าแห้งแล้วจึงชูมด้วยพระคาถานี้เสกด้วย สักกัตวา ๔๕ คาบ เสกด้วย สัพพาสี ๔๕ คาบ แลพลีจงดีคำนับแล้วใช้เถิด ถ้าเจ็บตา ฝนด้วยน้ำแรมคืนใส่หายแล ฯ”
เอกสารโบราณเป็นใบลานขนาดสั้น เรียก ใบลานก้อม (ขนาดสั้นกว่าใบลานขนาดปกติ) จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย
หน้าสุดท้ายพบบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานความระบุถึงผู้สร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาว่า “หมู่ชุ่มสร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้สำเร็จพระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้น”