ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/4 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ใบลานสุดรองสุดท้าย ระบุวันเวลา “วัน ๕ เดือน ๙ จุลศักราช ๑๕๗ ปีมะแม” คาดว่าน่าจะเป็น จ.ศ. 1157 แปลงเป็น พ.ศ. 2338 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/3 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/5 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
การทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณฉบับนี้ ฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ จะถ่ายเรียงหน้าแบบตัวต้นฉบับสมุดไทย เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นถึงสภาพของตัวเอกสารและการเขียนจริงๆ ของเอกสารโบราณเล่มนั้นๆ เสมือนกัทบผู้อ่านได้เปิดดูจากตัวเล่มสมุดไทย จึงไม่ได้มีการกลับภาพเอกสารโบราณ
ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อ “ศุภมัสดุ 1904 ศก ชวดนักษัตร เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ จันทวาร” สมเด็จพระมาราธิบดีษรีจักรพรรดิราช (ชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณ) มีพระราชโองการให้ตราขึ้น ระบุถึงลักษณะโทษและกำหนดบทลงโทษของชายหรือหญิงใดที่กระทำผิด เช่น ถ้าชายใดทำชู้ด้วยเมียกลางทาษี ให้ไม่ได้พระราชกฤษฏีทำ 5 ส่วน ยักเสีย 3 ส่วน 2 หญิงอันร้ายให้เอาเฉลวแปะหน้า ทัดดอกชบาแดงทั้งสองหู ร้อยดอกชบาเป็นมาลัยใส่ศีรษะใส่คอ ให้นายฉํวงตีฆ้องนำประจาน 3 วัน เป็นต้น
หลักไชยเป็นตำรากฎหมาย การตัดสินคดี
ตอนต้นเป็นภาพยันต์ และคาถาอาคมต่างๆ ตอนท้ายเขียนด้วยดินสอ เกี่ยวกับกฏหมายลักษณะอุทธรณ์ 12 ประการ อุตริอุทธรณ์ 21 ประการ ลักษณะนานาอุทธรณ์ 22 ประการ ลักษณะอาสาชนะอุทธรณ์ 5 ประการ ลักษณะตัดฟ้อง 20 ประการ ลักษณะตัดสำนวน 10 ประการ