สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี แทรกเล็กน้อย
ในส่วนหน้าต้น กล่าวถึงเรื่องโหราศาสตร์เป็นบทประพันธุ์ร้อยกรอง เช่น
“ วันอาทิดใหนายทับนุงแดง เสีอแสงโลหิดวัดถา
วันจันนุงข้าวผองตองตำมรา วันอังคางนุงมวงชวงฉาย
วันพุทนุงชุมพูดูดี ตามหาพิไชยรุศวัดดี
เสีอสวมกายโภกเสียรตามสี เสีอสีดุจะนุงรุงเรีอง
วันพระหัดนุงสีแสดสลับ ประดับกายแกดกอนอาภอนเหลีอง
วันศุกให้นายทับประดับเครีอง วันเสานุงดำอำไพ้ย
มาขีสีตามอัถฏวอน นุงสีเมกเหลีองอลังการ
ชอบพิไชณรงรานชานสมอน ทินณกอรมกบังบนนํพา”
หน้าปลาย เรียบเรียงเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว กล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาเสกขี้ผึ้ง คาถาต่อกระดูก เป็นต้น
สมุดไทยขาวฉบับนี้เขียนด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย อักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ การตั้งตรีนิสิงเห การเขียนยันต์ การกำกับคาถา เป็นต้น
คาถาหัวใจ หรือ หัวใจพระคาถา เป็นบทย่อของพระคาถาซึ่งถอดออกมาเป็นคำสั้น ๆ เพื่อให้จดจำได้รวดเร็วแต่ยังคงความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ไว้เช่นเดิม คาถาหัวใจที่ปรากฏในสมุดไทย อาทิ หัวใจพระมหาชนก หัวใจพระเพชร หัวใจพระสุวรรณสาม หัวใจตรีนิสิงเห หัวใจพระเตมีย์ หัวใจงู หัวใจคน เป็นต้น นอกจากคาถาที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น ยังมีคาถาหัวใจที่กล่าวถึงนอกเหนือจากคาถาหัวใจ 108 อีกด้วย เช่น หัวใจนภา หัวใจมงคล เป็นต้น การตั้งพิธีตีแถลงหรือแสลงก็ได้ ผู้ปริวรรตเข้าใจว่าเป็นพิธีที่ตั้งขึ้นเพื่อปัดพิษร้าย คุณไสยต่างๆ ให้ออกจากจากร่างกายของคน และโองการมหาเถรตำแย
สมุดไทยเรื่อง NPT010-016 ตำราคาถาและตำรายา ฉบับวัดสำโรง จ.นครปฐม เป็นสมุดไทยขาวตัวอักษรขอมไทย, ไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เขียนด้วยเส้นหมึกสีดำ ลายมือที่ปรากฏในสมุดไทยมี ๒ ลายมือแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ลายมือแรกเขียนตัวอักษรขอมไทยได้บรรจง สวยงาม ส่วนลายมือที่สองค่อนข้างหวัด สันนิษฐานว่าในหน้าต้นที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องตำราคาถานั้นถูกเขียนขึ้นมาก่อนซึ่งไม่ได้เขียนจนหมดฉบับ จากนั้นถูกนำไปเขียนเรื่องตำรายาภายหลัง สมุดไทยขาวฉบับนี้ไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายขาดหายไปเป็นที่น่าเสียดายมาก บางตำแหน่งมีรอยน้ำซึมทำให้ตัวอักษรลบเลือนไปเล็กน้อย หน้าต้นกล่าวถึง คาถาปถมํ คือ การอุบัติของพระเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ การบำเพ็ญบารมีจนถึงสูญนิพพาน คาถาต่างๆ ทั้งคาถาเมตตามหายนิยม คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาต่อกระดูก เป็นต้น หน้าปลายเป็นตำรายา กล่าวถึง คัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค โรคที่เกิดจากธาตุทั้งสี่พิการ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อาโปธาตุ) และสูตรยารักษาโรคนั้นๆ เช่น อาโปพิการ ร่างกายขาวซีด ง่วงซึม รักษาด้วย เจตมูลเพลิงแดง ๑ ลูกผักชี ๑ เปลือกมูกมัน ๑ ก็ทำเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินแก้โรค เป็นต้น
หน้าต้นเป็นตำรายาระบุชื่อเจ้าของว่า ตาอินสอน อยู่สุงเมืองละคอน กล่าวถึงยาต่างๆ อาทิ โองการพระอินสอน ยาถ่ายเลือด ฯลฯ และลายไทยวาดด้วยดินสอ ส่วนหน้าปลายเป็นภาพยันต์ หมายเหตุ ต้นฉบับภาพยันต์กลับหัว
สมุดไทยขาว สภาพไม่สมบูรณ์นัก มีร่องรอยแมลงกัดแทะ แต่เนื้อหาบางส่วนยังอ่านได้ เนื้อหาอยู่ในหมวดไสยศาสตร์ มีภาพยันต์และคาถาต่างๆ เช่น ยันต์พระวินัย คาถาเสกยันต์ ยันต์ถอนรูป ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์พระกาฬ ปั้นเทียน และโองการมหาเถรตำแย เป็นต้น
สมุนไทยขาวฉบับนี้ บันทึกด้วยอักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา และมีอักษรไทยปะปนเพียงเล็กน้อย เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ ยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์ลงเสื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังบันทึกเกี่ยวกับตำรายา เช่น ยาหยอดตา, ยาสะกดไข้, ยาไข้รากสาด, ยาเอ็นหด เป็นต้น และพบว่าระบุศักราช จ.ศ.1173 ตรงกับ พ.ศ. 2354 ในชะตาปีเกิด “นางอุ่นเรือน”
สมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นดินสอขาว บันทึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลีปะปนเล็กน้อย หน้าต้นกล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาพลิกแผ่นดินหงาย สำหรับใช้แก้ต่างให้ศาล ให้เอาใบมะขามมาเคี้ยวกินพลางเสกไปกินไปพลางเจรจากับโจทก์จำเลยก็จะแพ้ให้เรา เป็นต้น หน้าปลาย เขียนกลับหัว