เอกสารโบราณ

ภาษา : บาลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,132 รายการ (126 หน้า)

RBR003-291 มโหสถ ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ มโหสถ ผูก ๒ แล มีสิบผูกกับกันเท่าอั้นแล คัมภีร์นี้ ฯฯะ๛ / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ๒” ท้ายลาน ระบุ “เอกุสวีสติปญฺหา นิฏฺฐิตา ปัญหาทั้งหลายอันได้สิบ ๙ ıı อันเข้ามาในมโหสถชาตก ผูกถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ıı จบกัณฑ์แล เสด็จวันอังคาร มอกไถนาแลงแล เดือนยี่ ปีชวด ข้าหัดเขียนใหม่แล ข้าขอมีสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้ว ข้อขอหื้อมีสติปัญญาเหมือน ๑ เจ้ามโหสถ หื้อข้ามีคำอดเหมือน ๑ เจ้าเตเมย์ (เตมีย์) ขอหื้อข้ามีคำเทศนาธรรมเหมือน ๑ เจ้าวิธูรบัณฑิต ขอหื้อข้าได้รับเอาบุญเหมือน ๑ นางผุสดี ขอหื้อข้ามีฤทธีเหมือนพระยากัปปินราช ขอหื้อข้ามีอำนาจเหมือนพระยาอินทร์ พระยาพรหม ข้าไปทางใดขอหื้อได้กินอุดม อย่าไปหื้อข้าได้อดได้อยาก ข้าขอฝากตัวข้าไว้เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า พระอริยเมตไตรยเจ้ากู พระองค์นั้นเทอะ ได้เหมือนคำนึกนี้เทอะ ผู้เขียนก็หื้อได้ ผู้คึดก็หื้อได้ ผู้เจ้าเพิ่นไปซื้อใบลานมาก็หื้อได้ คันว่าผู้ใดเล่าก็เก็บไว้หื้อดีแล สร้างยากเต็มทีแล เจ้า เต๑ ı ช๒ ส๓ (ควรเป็น สุ) ı เน๔ ı ม ı ภู ช (ควรเป็น จ) ıı นา ıı วิ ıı เว ıı อันนี้ ๑๐ ชาติแล เต นั้น ชาติ ๑ ıı ช นั้น ๒ ชาติ ıı ส (ควรเป็น สุ) นั้น ๓ ชาติ ıı เน นั้น ๔ ชาติ ıı ม นั้น ๕ ชาติ ıı ภู นั้น ๖ ชาติ ıı ช (ควรเป็น จ) นั้น ๗ ชาติ ıı นา นั้น ๘ ชาติ ıı วิ นั้น ๙ ชาติ ıı เว นั้น ๑๐ ชาติ แล สาธุ สฺคเค กาเม จ รูเป คิริสิขรตเฎ จนฺตลิกฺเข วิมาเน ที[ฯ] ๓ จบ ๚” / “ปีชวด พระพุทธศักราชล่วงแล้ว สองพัน สี่ร้อย ๚ สี่สิบสาม พระวัสสา ท่านอุปัชฌาย์นิ่ม จุลสุมณะ สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา หื้อถ้วนห้าพันวัสสา เพื่อหื้อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนไปตามสติปัญญาแห่งตน ขอหื้อผละผลค้ำชูผู้สร้างหนังสือเจ้ามโหสถนี้จิ่มเทอะ มโหสถ ผูกถ้วนห้ามีสิบผูกกับกันแล คัมภีร์นี้ ขออย่าหื้อพรากเสียกันแลนา นายที่ไหว้เหย ขอหื้อช่วยเอาใจใส่ดูแลแท้ ๆ เนอ ทุพี่ทุอาวเหย หื้อมีสติระลึกได้ อย่าไปประมาท”

RBR003-292 มโหสถ ผูก 3

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ หนังสือมโหสถ ผูก ๓ แล ฯฯะ๛ / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผูก ๓”, “พุดดอ” และดินสอ “๓” ท้ายลาน ระบุ “วิสฺสตินปาโตสิริเมณฺฑปญฺโห นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังเมณฑปัญหา อันตกแต่งไว้ได้ซาว ๑ ก็สมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ๛ เสด็จแล้วยามสัน (ฉัน) จังหันแล้วน้อย ๑ ปีสลู (ฉลู) เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ วันเสาร์ พุทธศักราชล่วงไปแล้วได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๔๐๔ Xสองพันสี่ร้อยสี่สิบสี่ พระวัสสา คิมหันตฤดู ปีนี้เป็นเดือน ๘ สองหน แล้วหนังสือพระมโหสถ ผูกถ้วน ๓ แล หนังสือวัดหนองบัว คัมภีร์นี้นี้มีกับกันสิบผูกเท่านั้นแล เขียน ๔ องค์กับกันช่วยกันแล รัสสภิกขุเสาร์เขียนกลางปลายนี้งามแท้ ๆ คำเดียวท่านทั้งหลายเหย ตกพร่อง ผิดพร่อง ใส่หื้อจิ่มเทอะเนอ ข้าเขียนไว้ค้ำชูพระศาสนาไปชั่วนี้ชั่วหน้า ขอหื้อข้าได้ ๓ ประการเทอะ เมื่อลุก เมื่อนอน เมื่อเทียว ไปมา ข้าขอได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงสรรพะทุกอัน ขอหื้อข้าแก่เปรศนาปัญหาได้ชู่ไม้ชู่ตัวธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าม” (ลานไม่ครบ)

RBR003-293 มโหสถ ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ หนังสือเจ้ามโหสถ ผูก ๔ มีสิบผูกกับกันแล หนังสือวัดหลวงบัว คัมภีร์นี้แล ฯฯะ๛”, “ มโหสถ ผูก ๔ แล :๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “ภูริปญฺโห นิฏฺฐิโต กริยาอันกล่าวยังภูริปัญหา ก็สมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้วแล สันงังหัน (ฉันจังหัน) แล้วแล มึดหนึ่งแล้วเมินน้อย ๑ ก็จบแล แล้ววันอังคาร เดือน ๑๐๒ คืนค่ำ ๑ ได้ชะใดเหมือนกัน ขอหื้อได้เหมือนกัน แด่เทอะ ข้าเขียนหนังสือเจ้ามโหสถผูกนี้ บ่ดีสักน้อยเหมือน ๑ ปูน้อยยาดคันนา อย่าไปใคร่หัวลายมือข้าเนอ กำลังเขียนใหม่ บ่เคยสักคำเทื่อ ข้าเขียนปางเมื่ออยูวัดน้อยแลนายเหย รัสสภิกขุเขต อยู่บ้านดอนปีน แลนายเหย จบ”, “๚ หนังสือเจ้ามโหสถ ผูกถ้วน ๔ มีสิบผูกกับกันแล คัมภีร์นี้หนังสือวัดหนองบัวแลนายเหย ฯฯ๛”

RBR003-294 มโหสถ ผูก 5

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๕ มี ๑๐ ผูกกับกัน ใต้เท้าค่อยพิจารณาดูเทอะ ะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ๕” และดินสอ “๕” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ มโหสถ ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนและ สำเร็จแล้วในเพล ปีชวด เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วันศุกร์ ๚”, “๚ หน้าทับปลาย มโหสถ ผูก ๕ มีสิบผูกกับกันแลนายเหย ฯฯะ”

RBR003-295 มโหสถ ผูก 6

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๖ แล ะ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และดินสอ “๕” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง มโหสถชาตกํ ผูกถ้วน ๖ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ ประดับประดาจบบริบูรณ์ พุทธศักราชล่วงไป ๒ พัน ปลาย ๔ ร้อย ๔ สิบ ๔ ปัจจุบันปีสลู (ฉลู) เอกศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือนแปด ขึ้น ๕ ค่ำ วันเสาร์ เวลาบ่ายลงได้ดอกสักครึ่งโมง ๑ แล ๚ หมู่ศรัทธาเพิ่นพากันห่ายหอมเอาบาทใจกันได้แล้ว เพิ่นไปซื้อเอา ๚ ลานมาสร้างสิบชาติ ข้าเป็นผู้เขียน ข้าได้ชะใด ขอหื้อได้เหมือนกันนั้นเทอะ ๚ ส ๚ รัสสภิกขุน้อย บ้านให้เขียน เค้าม่วงเขียนแล (รัสสภิกขุน้อย บ้านเค้าม่วงให้เขียน) ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแก่ข้าแด่เทอะ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปเถิงปิตตามาดา ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อยบ่เป็นถ้อยอยู่ (ควรเป็น พอเป็นถ้อยอยู่) ใบลาน ที่ผิดก็ผิด ที่ถูกก็ถูก ผิดที่ใดใส่หื้อจิ่มเทอะ ๚ ข้าบ่ใคร่หูหลาย ๆ (รู้หลาย ๆ) แล ทุอาวองค์ใดเล่าดูดีดี”

RBR003-296 มโหสถ ผูก 7

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบักดอ รัสสภิกขุธรรมสุวรรณ ผิดที่ใด ใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ๚ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๗ แล ท่านผู้ใดเสาะหา พิจารณาดูเอาเทอะ”, “๚ หนังสือ มโหสถ ผูก ๗ มีสิบผูกกับกันแลนายเหย ฯฯะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และเขียนเลขโหรา อักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “๗” ท้ายลาน ระบุ “เทสนามโหสถชาตกํ มโหสถชาตก ผูกถ้วน ๗ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ววัน ๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วัน ๑ บ่าย ๕ ชั้นขวางแล ปีชวดแล ฯ ข้อขอหื้อมีสติปัญญาเหมือน ๑ เจ้ามโหสถ หื้อข้ามีคำอดเหมือน ๑ เจ้าเตเมย์ (เตมีย์) ขอหื้อข้าเทศนาธรรมเหมือนเจ้าวิธูร ช่างรับเอาบุญเหมือนนางผุสดี หื้อข้ามีฤทธีเหมือนพระยากัปปินราช หื้อข้ามีอำนาจเหมือนพระยาอินทร์ พระยาพรหมแล ขอหื้อผู้เจ้าใบลานเพิ่นจิ่ม ขอหื้อผู้เพิ่นคึดสร้างก่อนนั้นจิ่ม หื้อผู้เอามาเขียนนี้จิ่มข้านี้จิ่มเทอะ เจ้ามโหสถเหย ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ผิดพร่อง ถูกพร่อง” หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ มีอยู่ ๑๐ ผูกกับกันแล รัสสภิกขุจันทสุวรรณ อยู่บ้านใหม่เขียน ๓ ผูกกับกันแล ะ”

RBR003-297 มโหสถ ผูก 8

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๘ มี ๑๐ ผูกกับกันแลนายเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผูก ๘” ท้ายลาน ระบุ “๚ มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยัง มโหสถ ผูกถ้วน ๘ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ รัสสภิกขุทอง เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบัว เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันจันทร์แลนายเหย ๛ แล้วยามตะวันบ่าย หน้อย ๑ แล ตัวบ่ดีสักหน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ใบลาน เจ้า [ตน/องค์] ใดได้อ่านได้เล่าก็ดี ที่ไหนบ่คับบ่คาย บ่ถูกบ่ถิ้มนั้นก็ว่าเอาเทอะ สาธุเจ้าคันธิยะได้ โปฏกํ ยังใบลาน ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปถึงบิดามารดาเทอะ กับครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้องข้า ชู่ผู้ชู่คนเทอะ กับเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน) คู่คนเทอะ ตัวข้าผู้เขียนจิ่ม ธุวํ ธุวํ จบแล้วแล นายเหย ะ”

RBR003-298 มโหสถ ผูก 9

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๙ แล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผู ๙” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังมโหสถชาตก ผูกถ้วน ๙ อันเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛”

RBR003-299 มโหสถ ผูก 10

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๑๕ มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” บันทึก หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูกปลายแล :๛ถ้วนสิบแล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูกที่ ๑๐” และเขียนอักษรธรรมล้านนา และตัวเลขไทย ด้วยดินสอ “ปาฺย ๑๐” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ ปญฺจมํ นิฏฺฐิตํ ธมฺมเทสนา กริยาอันกล่าวแก้ไขยังมโหสถชาตก อันกดเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ วันพระหัส เมื่อตาวันบ่ายลงแล ข้าเขียนหัดใหม่ บ่เคย อย่าไปด่าข้าเนอ ข้อขอโมทนากับจิ่มส่วนบุญ ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานแล้ว”