เอกสารโบราณ

ภาษา : บาลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,132 รายการ (126 หน้า)

NPH001-033 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาฉบับนี้ กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาสารพัดซาง แก้ซาง แก้ฝีในท้อง ยาแก้ลม ยาทาฟก ยารมฟก ยาไข้พรา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/33 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-032 ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี กล่าวถึงตำรับยา อาทิ ยาออกปานแดง ดำ ด่าง ยาชุม ฯลฯ ต่าง ๆ โดยมีการระบุเจ้าของเอกสารโบราณว่าเป็นของ นายเซียงลี บ้านแสนตอ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/32 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ มีใบลาน 2 ขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก

NPH001-031 ตำรายาท่านสองหลาบบ้านกงเก่า

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงโรคและตำรับยาสำหรับรักษาโรค อาทิ ยางูตอด ยาซะดวง ยาคันทะมาลา ยามะเร็งกระดูก ยาคางเข้ากับ ยาแก้ปานดำปานแดง ยาเทรียดไฟ ยาลวงแก้ว ยาลมนอก ยาแก้พิษ ยาเหือดจม ยาฝน ยาทา ยาตุม ยาลงคาง ยาเป่า ยาเส้นเอ็นทั้งมวล ยาแก้ลมทั้งมวล ยาลงท้อง ยาฝีหัวอ่อน ยาฝนทาฝี ยาไข้ตีนกำมือกำ เป็นต้น ตำรับยารักษาโรคที่ปรกฏในหนังสือ ตัวอย่างเช่น ยาลวงแก้ว เอารากบัวหลวง รากพร้าว รากตาล รากหญ้าคา รากหญ้าปากควาย หญ้าแห้วหมู เอาข้าวเจ้า อ้อยดำ ถั่วซะแดด มาตำดอมกันแช่ปั้นเอาสะแพงน้ำนมแฟง ๑ ประสมกับน้ำยาผงคาน้ำใส่เดินตัดกินดีแล หน้าสุดท้ายมีข้อความเขียนว่า “ไผยืมไปอย่าอำเอาเทินบีดีแล” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/31 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลาน 2 อักษร และขนาดใบลานต่างกัน คาดว่ามาจากคนละผูก

NPH001-028 ตำราแก้พยาธิทั้งมวล

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายากล่าวถึงสมุนไพรสำหรับรักษาโรค เช่น ยานัตถุ์ ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอ ยาลงเลือด ยาลงเลือดทางทวาร ยาลงเลือดทางปาก ยาแก้ปวดบิด ยาลมอกร้อน ยาลมคัดอก ยาบำรุงเลือดสำหรับหญิงหลังคลอดลูก เป็นต้น สูตรยารักษาโรค อาทิ “ผิว่า ไอ ให้เอาหญ้าควยงูมาใส่เพื่อสน้อยแช่น้ำกินหายแล ภาค ๑ ให้เอาหัวถั่วพู รากตำลึง แช่กินดีแล ภาค ๑ เอาแส้ม้าฮ่อ แช่กินดีแล ผิว่า รากเลือด ก็ออกดังนั้นเอาหญ้าหางหมาต้มกินดีแล ผิว่า ลงทวาร ให้เอารากกล้วยตีบ ๑ อ้อยดำ ๑ หอมแกว ๑ หัวหญ้าแห้วหมู ๑ เอาท่อกันเคี่ยวกันดีแล“ หน้ารองสุดท้ายระบุชื่อเจ้าของใบลานเป็น อักษรไทย ภาษาไทย ว่า “พ่อทองนาค อุ่นใจ” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/28 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-022 ตำรายาแก้ไข้หมากไม้

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาแก้ไข้หมากไม้ กล่าวถึง บอกหมากไม้ (ใช้หมากไม้) ยาชุม บอกพยาธิ ฯลฯ “ไข้หมากไม้” โดยเชื่อว่าเกิดจากการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ และพืชต่างๆที่อยู่ในโคลนตม คนที่ไม่แข็งแรงเมื่อได้รับพิษเข้าไปก็จะเกิดอาการไข้ มักเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือช่วงที่ผลไม้ออกมากๆ (ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/1964799477117598/posts/2438974776366730/?locale=zh_TW&paipv=0&eav=AfaimwJY4D4wYRfdsriegZdK4tcTW87i2QVZJEyFpCLoMZrlHGwxYCm_hTK-7jnS-ew&_rdr.) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/22 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-014 ตำรายาแก้ไอ

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำราฉบับนี้กล่าวยาแก้ไอ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาอื่นๆ เช่น ยาขี้ฮาก ยาก้างลงท้อง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/14 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-021 ตำรายาและเป่า

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาและเป่า อาทิ ยาแก้พิษร้อน พิษขึ้นคัน ซางแดง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/21 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

SKN001-121 ชมพูปติสูตร

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , ชมพูปติสูตร

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

RBR003-199 จันทฆาต ผูกปลาย(ผูก 4)

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , จันทฆาต

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน