ครั้งหนึ่งพระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในวิหารเวฬุวันว่า "นิพพานนี้เป็นสุข" พระอุทายีตั้งข้อสังกาว่า "นิพพานนี้ไม่มีเวทนา เป็นสุขได้อย่างไร" พระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า "นิพพานไม่มีเวทนานี้แลหะจึงเป็นสุข" พร้อมกับอธิบายถึงสุขที่เกิดขึ้นจากกามสุขทั้ง 5 และอธิบายว่า ถึงแม้ภิกษุที่บรรลุฌานชั้นต่างๆ ตั้งแต่ ปฐมฌานไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญาตนฌาน ก็ไม่สามารถปราศจากทุกข์ได้ ต่อเมื่อบรรลุเนวสัญญาสัญญาตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายก็สิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา จึงรู้ว่านิพพานนี้เป็นสุขอย่างไร
หน้าต้นกล่าวถึงการนำดินจากใต้ต้นไม้ต่างๆ มาปั้นดินเป็นรูป เพื่อแก้ตะพันทั้ง 12 ประการ มีรูปยันต่างๆ หน้าปลายเป็นรูปยักษ์แผนฝีมะเร็ง และกล่าวถึงลักษณะของฝี การเกิด และยาสมุนไพรที่ใช้รักษา
ตำราเรียนภาษาบาลี กล่าวถึงการเรียกชื่อตัวเลข เช่น 1 คือ ปถม 2 คือ ทุติย เป็นต้น กล่าวถึงวิภัตติแปดหมู่ มีตารางการแจกวิภัตติปัจจัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ
ตำรารวบรวมคาถาอาคมต่างๆ เช่น คาถาปลุกอาวุธ คาถาห้ามลม คาถานอนกลางป่า คาถาเสกน้ำมันเดือด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรูปยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์ตะกรุดดอกเดียว ยันต์ลงผ้าเช็ดหน้า ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์ใส่ถุงเงิน ยันต์นางกวัก ฯลฯ
ประกอบได้ด้วยตำราโหราศาสตร์หลายๆ เรื่อง เช่น ตำราห่วง นาคสมพงษ์ ตำราดูธาตุ เทพจร มหาฤกษ์ ตำราการปลูกเรือน ตำราการตั้งศาลพระภูมิ ตำราเย็บผ้านุ่งผ้าห่ม การทำนายสัตว์ตก เป็นต้น
มหาเวสสันดร เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมี สมุดไทยมีลักษณะชำรุด ไม่ครบเล่ม
ตำราบันทึกรูปยันต์ คาถาอาคมต่างๆ เกี่ยวกับไสยศาสตร์ เช่น ยันต์พระเจ้าทั้ง 16 ยันต์ใส่ตะกรุด ยันต์ปิดปากหม้อยา ยันต์ลงงบน้ำอ้อย คาถาอาคมต่างๆ เช่น คาถาพญาครุฑ นารายณ์แปลงรูป นารายณ์กลืนไตรภพ เป็นต้น
กล่าวถึงโรคสันนิบาตทั้ง 7 จำพวก ยาแก้สันนิบาตต่างๆ มีทั้งยาหม้อ(ยาต้ม) ยาผง ยานัตถุ์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกำเนิดสันนิบาต ในตอนท้ายมีสูตรยาเกร็ด ยาหม้อตำรับหมอทอง ยาธาตุตัดปลายไข้ตำรับหมอสวน
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ คือ คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ไว้โดยย่อ เหมือนเป็นแบบเรียนเร็วพระอภิธรรม แบ่งเป็น 9 ปริจเฉท ปริจเฉทที่ 1 จิตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง เจตสิกปรมัตถ์ ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมต่าง ๆ 6 หมวด คือ เวทนา เหตุ ทวาร กิจ อารมณ์ และวัตถุ ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดง วิถีจิต ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดง จิตที่พ้นวิถีและธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่พ้นวิถี ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดง รูปปรมัตถ์และนิพพาน ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกันได้ ปริจเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดง ธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกันและแสดงบัญญัติธรรมด้วย ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐาน รวบรวมแสดง อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ คือ สมถะ และ วิปัสสนา