ข้อความเขียนเป็นภาษาไทยว่า “สูบพนมส่ดูพูททะลัตราชหลองแล้ว ๒๔๔๑ พระวะสา ยังอีก ๒๕๕๘ พัระสาเสดกอนแตกาน แหงวันไพสากะมูนนีมา เดือนยังจะมาอีก ๗ เดือน” เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น มุตคาด องคสูต ชำรั่ว อุปทม นิ่ว ยาริดสีดวง เป็นต้น
สมุดไทยดำฉบับนี้กล่าวถึงตำรายาต่างๆ เช่น ยาทาแผล ยาไข้จับ ยาบำรุงเลือด ยาทาเส้น ยาแก้ตานขโมย เป็นต้น
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/70 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/69 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
คำสวดกรรมวาจาจารย์ หรือคำบอกอนุศาสน์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่ให้ปฏิบัติตาม คำว่า บอกอนุศาสน์ ใช้ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระอุปัชฌาย์หรือพระเถระที่พระอุปัชฌาย์มอบหมาย บอกคำสั่งสอนหรือคำชี้แจงให้พระภิกษุที่บวชใหม่ทราบทันที ในตอนท้ายของพิธีอุปสมบท อนุศาสน์ มี 8 ข้อ แบ่งเป็นข้อที่ภิกษุควรประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ ออกบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนต้นไม้ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. ส่วนที่พระภิกษุต้องไม่ประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ เสพเมถุน ลักของผู้อื่น ฆ่าสัตว์ และพูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ทั้ง 8 ข้อนี้เรียกว่า อนุศาสน์ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/38 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง บอกอนุศาสน์ (10 พฤศจิกายน 2554) จากเว็บไซต์ http://legacy.orst.go.th/?knowledges=บอกอนุศาสน์-๑๐-พฤศจิกายน
ตำรายา กล่าวถึงยารักษาโรค เช่น ยากะยือ ยาเล็ด ยาแก้ปวดหลัง ยาหมากโหก ยาแก้ไข้ ยาเลือด ยาชุมน้อย ยาแก้ไอ ยาแก้ปวดหลัง ฯลฯ และปรากฏปีที่สร้าง พ.ศ.2536 ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/35 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานบางแผ่นขาดมีการซ่อมแซมด้วยการติดสก็อตเทป
ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาลงเลือด แก้หมากไม้ แก้ไข้ เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/34 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานปนกัน คละผูก
ตำรายาฉบับนี้ กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาสารพัดซาง แก้ซาง แก้ฝีในท้อง ยาแก้ลม ยาทาฟก ยารมฟก ยาไข้พรา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/33 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี กล่าวถึงตำรับยา อาทิ ยาออกปานแดง ดำ ด่าง ยาชุม ฯลฯ ต่าง ๆ โดยมีการระบุเจ้าของเอกสารโบราณว่าเป็นของ นายเซียงลี บ้านแสนตอ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/32 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ มีใบลาน 2 ขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก