สมุดไทยขาว เนื้อหากล่าวถึงตำราห่วง และตำราดูธาตุชายหญิง
สมุดไทยขาวเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล สมุดไทยขาวปรากฎข้อความดังนี้ หน้าต้น “นังสืโยมพระทรั่มโยทรางไวยไนยพรสาศหนา ฃอไหยภเจาทัรร พรสีอารเทิฎนีบภาณ่ปัทจะโยโหตุ” หน้าปลาย “สิ้นสมุดแต่เท่านี้แล พระธรรม 7 คัมภีร์แล จบเดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่ง”
สมุดไทยขาว หน้าปกเขียนว่า “ตมราเมืองตักคสีนลาแล” และหน้าสุดท้ายเขียนว่า “สินสมุดแต่เทานีแล ตำรับนีมีสาระพัดทุกประกานแล” และมีการเติมวรรณยุกต์ด้วยหมึกสีแดง เนื้อเรื่องกล่าวถึง ตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ อาทิ ยาเขียวมหากาฬ นาประสะจัน ยาสมมิตใหญ่ ยาร้อยเขาวัง ยาฝนแสนห่า ยาคงคาเดือด นานัตถุ์แก้ไข้ ยาพรหมจินดา ยาต้มแก้ลมสันดาน ยาแก้กระหายน้ำ ยาดองแก้ริดสีดวง
สมุดไทยขาวกล่าวถึงโองการมหาเถร 8 ทิศ และมีแทรกตำรายามี 4 หน้า
สมุดไทยขาวกล่าวถึงโรคและตำรับยาในการรักษาโรค อาทิ ยาบำรุงธาตุ ยาบำรุงเลือด ยาแก้สันนิบาต ยาทาองคสูตร ยาพอกองคสูตร ยามุตกิต ยาแก้ไข้ออกดำออกแดง ยาสังวาลย์พระอินทร์ ยามหาเมฆใหญ่ ยาแก้ไข้ลากสาด ยาแปรออกดำออกแดง ยาแก้ฟกบวม ยาแก้ฟองสมุทร ยามหาเมฆ ยามหานิล ยาแก้ประโดง ยาแก้ปากเปื่อย ยาแก้สลบ ยาแก้คัน ยาแก้คางแข็ง ยานัตถุ์ ยาสารีบาต ยาลมอัคมูขี ยาบรรลัยจักรใหญ่ ยาตานขโมย เป็นต้น
สมุดไทยขาว กล่าวถึงอาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรค อาทิ ยาแก้ลมซาง อาการซางทั้ง 7 วัน ยาแก้ซางตัวร้อน ยาเหลืองใหญ่ ยาเหลืองน้อย ยาตานขโมย ยาตรีผลาใหญ่ ยาทองเนื้องาม ยาแก้ลงท้อง ยารุซาง ยามหานิลใหญ่ ยาทองแนบเนื้อ ยาแดง ยามหาจักร ยาเหลือง ยาดำ ยาแดง ยาเขียว ยาหม้อใหญ่แก้คุณไสย ยาพอกแก้คุณผีคุณคน ยามหานิลน้อย ยาอุปทม เป็นต้น
สมุดไทยขาวมีหลายลายมือ เริ่มด้วยการกล่าวคาถาของฤาษีตาไฟ จากนั้นกล่าวถึงลักษณะไข้สามประการ จากนั้นกล่าวอาการของไข้ต่างๆ และยาสำหรับรักษาโรค เช่น ยาแก้ไข้สารพัดลม ยาปิดแผลทั้งปวง ยาทาแผล ยาพยาธิ ยาแก้ซาง เป็นต้น จากนั้นเป็นตำราโหราศาสตร์ เช่น การดูยามสามตา การดูวันดีวันร้าย เป็นต้น
ต้นฉบับเป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยอักรไทยและขอมไทย เนื้อหาส่วนใหญ๋เป็นตำรายากล่าวถึงแผนเส้น รูปผู้ชาย ส่วนหน้าปลายมีภาพแผนเส้น และตำราห่วง
คัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค)จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย