สมุดไทยขาวเล่มนี้ เป็นตำราโหราศาสตร์ เขียนด้วยอักษรมอญ ภาษามอญ และภาพยันต์เล็กน้อย หน้าสุดท้ายมีอักษรภาษาไทย “บวกอายุผู้ดูแล้วเอา 8 หาร”
สมุดไทยดำเล่มนี้กล่าวถึง ชื่อยาและสูตรสมุนไพรรักษาโรค เช่น ยามหานินน้อยเป็นยากวาดซาง เอารากดินข้อ1 เปลือกน้ำเต้าเผา 1 เกล็ดปลาช่อนข้อ 1 ลูกมะแว้งต้นมะแว้งเครือ น้ำประสานทอง หัวตะไคร้หอมสะตุ เขี้ยวแรดฝนเอาน้ำ 1 ใบกะเพรา 1 พิมเสน ดีงูเหลือม ยานี้เอาเท่ากันเหล้าเป็นกระสาย ทำแท่งไว้ฝนด้วยเหล้ากวาด เป็นต้น
วนวรรณกรรมไม่ปรากฏชื่อตัวละคร เนื้อหากล่าวถึงแม่พร่ำพรรณนาถึงลูกชายที่หลงภรรยา ไม่ฟังคาสั่งสอนของแม่ (อาจมีลูกชาย 2 คน), คำสมาทานศีล 5, บทสวดมนต์แปล ฯลฯ
สมุดทยบันทึกตำราต่าง ๆ ได้แก่ ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ และตำราไสยศาสตร์
สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง ๔ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
สมุดไทยบันทึกตำราโหราศาสตร์ เช่น ตำราลมสูรย์จันทร์, ตำราธรณีเลียบโลก, ตำราปลูกเรือนกุฏิวิหาร, ตำราปลูกเรือนตามเดือน, ตำราปลุกเสาเรือนขุดหลุมเสา, ตำราดูชองนอน, ตำราแปลงแม่ชีไฟ, ตำราลงเรือนไปเยือนเขา, ตำราดูเอาผัวเอาเมีย, ตำราวันตัดผม, ตำราวันดำหัว, ตำราวันตัดเสื้อผ้า, ตำราวันตัดไม้, ตำราทำนายนาคให้น้ำ, ตำราดูกระดูกและหนัง, ตำรายามเกิด, ตำราแรกไร่นา, ตำราดูวันไปค้าขาย, ตำราลักษณะแมว, แบบตั้งเครื่องสะเดาะเคราะห์, ตำราดูของหาย, ตำราดูลูกในท้อง ฯลฯ ด้านในบันทึกว่า “จบตำราลมสูรย์จันทร์แต่เท่านี้ ขอให้ท่านพิจารณาเอาตามที่เขียนไว้นี้ ถูกถ้วนดีทุกประการนั้นแล้ว ท่านเอย”
สมุดไทยบันทึกตำราโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และเวชศาสตร์ เช่น ตำราช้างดิน, คาถาโมคคัลลานดับพิษไฟ เคราะห์ ๙ ชั้น, ยาคุณธาตุ ฯลฯ มีบันทึกวีนเดือนปีเกิด “บาเหล็ง เกิดเดือน ๑๑ แรม ๗ ค่ำ วันจันทร์ ปีมะโรง”, “บาจัน เกิดเดือน ๙ ขึ้นค่ำ ๑ วันศุกร์ ปีมะเมีย”, “บาเงิน เกิดเดือน ๘ วันพุธ ปีจอ”, “อีพิมบา เกิดเดือน ๘ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรง วันจันทร์” “ตาพุทโธ ยายคำนับ ข้าขอทำกินใช้แผ่นดินอันนี้ ขอให้เกิดมั่งเกิดมีเป็นเศรษฐี บ้านนอกคุ้มงัว ทั้งคุ้มแอกคุ้มไถ คุ้มไร่คุ้มนา คุ้มตะกวดแลเหี้ยเพี้ยในนา บัด(ควรเป็น หมัด)พี้หนอนปออย่าให้มีมา จบเท่าอีคำแรกนาแลท่านเหย คันว่า ย่าไปแรกนาแล้วหื้อแปลงกระทงสี่อัน ข้าวตอกดอกไม้ธูป หื้อไว้สี่แจ่งไร่นา แล้วหื้อกราบงัวเสีย สมเทอะ แลนายเหยดีแท้เนอ ท่านทั้งหลาย
หน้าทับเค้าเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นครกัณฑ์ ผูก ๑๓” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นนครซูเซือม่วนอาละแล || มีอยู่ ๔๔ ใบหน้าแล ๚๛” ท้ายลานจารอักษรไทย ระบุ “มหาเวสันตระจาตะกังนิฐิตัง เตสนา นะคะระกันตัง อันประดับประดาไปด้วยพระคาถาว่าได้ ๔๘ พระคาถา ก็สมเร็จเสด็จแล้วเต่านี้ก่อนและ” มีรอยแก้ไขเพิ่มเติมวรรณยุกต์ คำ และขีดเส้นแบ่งคำหรือวรรคด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง และสีน้ำเงิน, จารอักษรไทย ๒ หน้าลาน