กล่าวถึงตำราแรกนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องดำเนินพระราม, เทพจร, กามจร, นาคสมพงษ์, กรุงพาลี, ทำนายต่างๆ เช่น ทำนายหนูร้อง ทำนายแมงมุมตีอก ทำนายหนูกัดผ้า ทำนายหนูกัดตัว เป็นต้น
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี แทรกเล็กน้อย
ในส่วนหน้าต้น กล่าวถึงเรื่องโหราศาสตร์เป็นบทประพันธุ์ร้อยกรอง เช่น
“ วันอาทิดใหนายทับนุงแดง เสีอแสงโลหิดวัดถา
วันจันนุงข้าวผองตองตำมรา วันอังคางนุงมวงชวงฉาย
วันพุทนุงชุมพูดูดี ตามหาพิไชยรุศวัดดี
เสีอสวมกายโภกเสียรตามสี เสีอสีดุจะนุงรุงเรีอง
วันพระหัดนุงสีแสดสลับ ประดับกายแกดกอนอาภอนเหลีอง
วันศุกให้นายทับประดับเครีอง วันเสานุงดำอำไพ้ย
มาขีสีตามอัถฏวอน นุงสีเมกเหลีองอลังการ
ชอบพิไชณรงรานชานสมอน ทินณกอรมกบังบนนํพา”
หน้าปลาย เรียบเรียงเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว กล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาเสกขี้ผึ้ง คาถาต่อกระดูก เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึง ตำราดูฤกษ์ยาม วันดีวันร้าย วันเหมาะสมที่จะกระทำกิจธุระต่าง ๆ เช่น ตำราปลูกเรือน ฤกษ์ลงเสาเข็ม การทำนายเรื่องน้ำท่าในการทำนาทำไร่ เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึงตำรับสมุนไพรในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับฝี เช่น “อันนี้ชื่อสังวาลย์พระอินทร์ ขึ้นแต่บ่าแลอกแล 11 วันตาย ฤาแปรหัวหัวฝีนั้นเอาอุลม 1 อังกาบดอกแดง 1 อังกาบดอกข้าว 1 บัวบก 1 ตำเอาน้ำเท่ากันชโลมหัวฝีนั้นแล ฯ”
สมุดไทยขาวเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึงโรคและตำรับยารักษาโรคในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น คัมภีร์มหาโชติรัตน คัมภีร์ปถมจินดา คัมภีร์กุมารรักษา คัมภีร์อภัยสันตา คัมภีร์อติสาร เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึง การทำนายทายทักฤกษ์ยาม วันเดือนปี วันดีวันร้าย โชคลาภ การทำกิจธุระต่าง ๆ ของทั้งหญิงและชาย อาทิ การทำไร่ไถนา การทำสวน การค้าขาย การทำนายคู่ครอง การฝังเสาปลูกเรือน เป็นต้น
สมุดไทยขาว เขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลีแทรกเล็กน้อย กล่าวถึงคัมภีร์รักษาโรคต่าง ๆ เช่น คัมภีร์อภัยสันตา คัมภีร์ปถมจินดา คัมภีร์อติสาร ซึ่งในหน้าต้นเขียนเป็นร้อยกรอง ตัวอย่างเช่น “อาทิดทรางไฟยสำคัน ทรางนำอรรยจรรณั ทรางแดงนันอังคาน อันพุดสกอเกอกาน ครุอนบนดานกำเนีดนัน ทรางฅาวี อันสุกทรางเสารี ทรางโจนนันนีมี กำเนีดประจำต่ามอรร” (อาทิตย์ซางไฟสำคัญ ซางน้ำอัศจรรย์ ซางแดงนั้นอังคาร อันพุธสกอเกอกาน ครุวันบนดานกำเนิดนั้น ซางคาวี อันศุกร์ซางเสาร์ ซางโจรนั้นนี้มี กำเนิดประจำตามวัน- ภาษาไทยปัจจุบัน) และ “จบคำพีนึง แต่เทานี จบเดือนสิบแรมสิบ 3 คำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยนึง” (จบคัมภีร์นี้แต่เท่านี้ จบเดือนสิบ แรม 13 ค่ำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยหนึ่ง-ภาษาไทยปัจจุบัน) จากนั้นเป็นข้อความร้อยแก้ว "๏ นาตำกำพีขาวดีงเกสาแล" (หน้าต้น คัมภีร์ขาวดึงเกสาแล-ภาษาไทยปัจจุบัน)
สมุดไทยขาวฉบับนี้เขียนด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี และภาษาไทย อักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ การตั้งตรีนิสิงเห การเขียนยันต์ การกำกับคาถา เป็นต้น