สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)
ตำรายาเล่มนี้กล่าวถึงยาแก้โรคที่เกี่ยวกับเลือด และตำรับยาอย่างอื่นไว้ได้วย เช่นยาแก้ไข้ทั้งปวง ยาบำรุงโลหิต ยาชื่อเนาวโกฐแก้ไข้ตรีโทษ ยาชื่อมหาสดมแก้โลหิตพิการ ยาไฟประลัยกัลป์แก้โลหิต 18 ประการ ยาแก้เลือด ยาแก้โลหิตตกทวารทั้ง 9 ยาแก้ระดูขัด ยานัตถุ์ชื่อแม่หม้ายผัวร้างแก้ริดสีดวงงอก ฯลฯ
เนื้อหาของเรื่องจินดามณีนั้นเป็นแบบการเรียนการสอนพื้นฐานด้านอักขรวิทยา และการประพันธ์บทร้อยกรองประเภทต่างๆ พื้นฐานด้านอักขรวิทยา เช่น อักษรศัพท์ ว่าด้วยคำศัพท์ที่มักเขียนผิด ความหมายของศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และเขมร ตัวอย่างคำที่ใช้ ส, ศ, ษ ตัวอย่างคำที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย เป็นต้น ด้านบทประพันธ์ร้อยกรอง ได้อธิบายโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนประเภทต่างๆ รวมทั้งยกตัวอย่างฉันทลักษณ์นั้นๆ ประกอบด้วย
ตำรายาเกล็ด หรือ ยาเกร็ด ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า ยาที่ไม่ใช่ยาตำราหลวง หรือเรียกอีกชื่อว่า ยากลางบ้าน เป็นยาที่ชาวบ้านเชื่อถือและใช้สืบทอดกันต่อๆ มา ในตำรายาเกล็ดฉบับนี้ กล่าวถึง อาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้ ยาแก้แสียงแห้ง ยาแก้เลือดผอมท้องโต ยาปลุกเลือด ยารุเลือด ยาพรหมพิทักษ์ ยาถ่ายเลือดรุได้สารพัด ยามหาไว ยาถ่ายสารพัดคุณไสย ยาดองเลือดผอมแห้งท้องโต ยากวนกินแก้เลือดผอมท้องโต ยากินตัดราก ยาแก้อภินยา แก้ไข้จับใหญ่ ไข้เหนือ ยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ยามหาเมฆ ยามหานิล ยาต้มแก้ร้อนใน ยาสว่างอารมณ์ ยาแก้ไข้สำหรับไข้เชื่อมมัวจับหัวใจ ยาต้มแก้ไข้จับวันเว้นวัน ยาต้มครอบสารีบาททั้งปวง ยาแก้ลม ยาเหลืองบุพนิมิตร ยาแก้โรคทุลาวะสา ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ ยาขาว ยาลมแก้จุกเสียด ยาดองแก้เลือดร้าง ยาดับลมร้าย ยาต้มถ่ายเสลด ยากัดเลือดกรัง ยาต้มแก้เลือดร้าง ยาเหลืองแก้ลมจุกเสียด ยาอายุวัฒนะ ยาเสียงแห้ง เป็นต้น และแทรกเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นคาถาสั้นๆ เช่น คาถาเสกน้ำมันดิบเหยียบเหล็ก คาถาสะเดาะลูกในท้อง คาถาตัดปาง เป็นต้น
ตำรายันต์ต่างๆ เช่น ยันต์จักพรรดิตราธิราช ยันต์ตะกรุดโทน ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์ลงผ้าเช็ดหน้า เขียนด้วยอักษรไทย และอักษรขอมไทย ด้านท้ายเขียนกลับด้าน บางแห่งเขียนด้วยอักษรธรรมอีสาน
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
ตำรารักษาโรคสำหรับเด็ก เช่น ยาแก้สำรอก ยาแก้รากไม่ออก ยาเหลืองใหญ่ ยาชโลมซาง ยาแก้ท้องขึ้น ยาจุดกาฬ ยาอุปทม ยารมคชราช ยากวาดแท่งทอง ยอหอมใหญ่ ยาแปรฝีดาษ ยาลม ยาแก้ซางแดง ยาริดสีดวง ยาประสูติลูก ยาหืด ยามะเร็ง เป็นต้น
สมุดไทยบันทึกวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง ท้าวลินทอง
สมุดไทยบันทึกตำราไสยศาสตร์ คาถา ยันต์ และตำราโหราศาสตร์ ว่าด้วยการทำนายพยากรณ์ต่าง ๆ เช่น ตำราทำนายฝัน, ยันต์ใส่หัวเรือ, ยันต์อิติปิโส, ยันต์ตรีนิสิงเห, คาถาเสกอ้อยกินแก้ไข, คาถา ๑๐๘, คาถาฆ่ามิตาย ฯลฯ