เอกสารโบราณ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : วัดเจ็ดริ้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ (18 หน้า)

SKN001-051 มงคลทีปนี ผูก 1

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด

มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต

SKN001-052 มงคลทีปนี ผูก 2

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด

มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต

SKN001-050 พระจุฬวัคค ผูก 9

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ขอมไทย , ล่องชาด

คัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค)จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย

SKN001-036 สุวรรณสาม

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ทศชาดก , พระโพธิสัตว์ , สุวรรณสาม , ตาบอด

สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้เมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่างๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสีชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็น มาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสาม ขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ

SKN001-121 ชมพูปติสูตร

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , ชมพูปติสูตร

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

SKN001-120 จันทคาด ผูก 5

วรรณคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , วรรณคดี , จันทคาด , ผูก 5

จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง

SKN001-122 มหาวิบาก ปฐมวัคค์ ผูก 1

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , มหาวิบาก

ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อมหาวิบาก เป็นคัมภีร์ที่นิยมใช้เทศน์โปรดผู้ป่วยหนักเชื่อว่าหากได้ “ฟังธัมม์” กัณฑ์นี้แล้ว ผู้ป่วยนั้นถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็จะตายโดยสงบ เรื่องย่อมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนา ความว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีเศรษฐีคนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีทรัพย์สมบัติถึง 80 โกฏิ แต่เขาเป็นคนที่ขี้เหนียวมาก ไม่ยอมใช้เงินซื้ออาหารดีๆ มากิน กินปลายข้าวด้มทุกวัน เสื้อผ้าก็ใส่เสื้อผ้าที่ทอด้วยป่าน เวลาจะเดินทางไปที่ใดก็จะนั่งเกวียนเก่าๆ ไม่ยอมทำบุญทำทาน เพราะกลัวว่าทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จะหมดไป ต่อมาไม่นานเศรษฐีก็ป่วยตาย หลังจากเศรษฐีตาย พระยาปเสนทิโกสละกษัตริย์ผู้ครองเมือง จึงได้สั่งให้ทหารไปขนทรัพย์สมบัติของเศรษฐีมาไว้ยังท้องพระคลังเพราะเศรษฐีไม่มีผู้สืบสกุล ซึ่งใช้เวลาถึง 7 วันจึงขนทรัพย์สมบัติมาไว้ในท้องพระคลังได้หมดวันต่อมาพระยาปเสนทิโกสละก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า และทรงเล่าเรื่องราวของเศรษฐีให้พระพุทธเจ้าฟัง แล้วทรงทูลถามว่าเหตุใดเศรษฐีจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติมากมายที่ตนเองมีได้ และทำไมเศรษฐีจึงไม่มีผู้สืบสกุล พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเทศนาถึงกรรมเก่าของเศรษฐีว่า ในชาติก่อนเศรษฐีเป็นกุฎมพีคนหนึ่งอยู่ในเมืองพาราณสีเขาเป็นคนไม่ชอบทำบุญทำทาน วันหนึ่งมีพระมาบิณฑบาตเขาก็ได้ตะโกนบอกคนทั้งหลายว่า มีพระมาบิณฑบาต ใครอยากทำบุญก็ให้รีบมา จากนั้นเขาก็มุ่งหน้าเข้าป่าไปไม่ได้สนใจที่จะทำบุญ เมียของนายกุฎมพีเป็นคนชอบทำบุญจึงได้จัดหาอาหารมาใส่บาตร นายกุฎมพีกลับมาเห็นเมียใส่บาตรจึงเกิดความเสียดายอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ชาตินี้เขาจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติที่ตนเองมีได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่มีผู้สืบสกุลเพราะได้ฆ่าลูกชายของพี่ชายตัวเองที่ไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่าตาย เพราะกลัวหลานจะแย่งทรัพย์สมบัติที่เคยเป็นของพ่อคืนเพราะก่อนออกบวชพี่ชายได้ยกทรัพย์สมบัติให้เขาหมดแล้ว แต่จากกุศลที่กุกุมพีได้ตะโกนให้ผู้คนรู้ว่ามีพระมาบิณฑบาดจึงส่งผลให้เมื่อตายไปก็ไปจุดิบนสวรรค์ถึง 7 ชาติ จากนั้นก็มาเกิดเป็นเศรษฐีอยู่เมืองสาวัตถี แต่บุญของเศรษฐีก็หมดในชาตินี้แล้ว “มหาวิบาก (คัมภีร์).” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 10. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 5061-5061.

SKN001-117 มาติกา

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , มาติกา

มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป (ข้อมูลอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/มาติกา)

SKN001-112 มหาเวสสันดร กัณฑ์ 13 นครกัณฑ์

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , มหาเวสสันดร , เวสสันดร , ชาดก , กัณฑ์

กัณฑ์ 13 คือนครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์สุดท้ายพูดถึงการเสด็จกลับเมืองเชตุดรของพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อกลับไปถึงพระเวสสันดรก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาเวสสันดรชาดก)