สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปักขคณนา” ฉบับนี้เป็นตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดค้นและนิพนธ์ขึ้น ปักขคณนา คือการนับปักษ์๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งเป็นวิธีการนับปักษ์ที่มีความแม่นยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมี ความคลาดเคลื่อนได้ภายในปี ไม่ว่าจะกําหนดอย่างไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําได้อย่างมากคือ คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดภายในปี ดังนั้นพระองค์จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นําการคํานวณปักขคณนานั้นไปใช้ทําปฏิทินพระทุกปี แทนที่ปฏิทินฆราวาส
สมุดไทยฉบับนี้ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลักๆ คือ เรื่องเกี่ยวกับตำรายาโรคลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคัมภีร์ชวดาร และอีกเรื่องคือ ตำรายาที่ใช้ในการคลอดบุตร และกรณีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปฐมจินดา
หน้าต้น กล่าวถึง ตำรายารักษาโรคซาง อาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา นอกจากนี้ยังภาพวาดเป็นรูปคนและตำแหน่งของโรคอีกด้วย ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง และภาพยันต์ เช่น ยันต์กันศัตรู ยันต์กันหนู เป็นต้น
เอกสารโบราณนี้อาจเป็นเอกสารฉบับเดียวกับ NPT003-010 ที่ขาดจากกันก็ได้เพราะมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือ หน้าต้น กล่าวถึงตำรายารักษาโรคอาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง
อภิธัมมัตถสังคหะ หมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว ต่อมามีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะมาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด 9 ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด
ธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก ต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เอกสารโบราณ กล่าวถึง โรคและสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น ยารักษาโรคตา ยาแก้โรคสันนิบาต เป็นต้น
หน้าต้น กล่าวถึง โจทย์เลขคณิตสอนวิธี บวก ลบ คูณ หาร เขียนด้วยหมึกดำลายมือเป็นระเบียบสวยงาม หน้าปลาย เป็นตำรายา กล่าวถึงโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ
ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลศาสนาวงศ์ เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480