ตามประวัติของวัดบางช้างใต้ได้กล่าวไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2335 ในแผ่นดินรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังที่ 2 ขึ้นมาใหม่แทนหลังแรกซึ่งถูกไฟไหม้ และได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดเก่าแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาด้วยเรือพายม้า พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีนามว่าหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ประทับนั่งอยู่ในปางสมาธิ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในอุโบสถหลังที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หรืออุโบสถหลังปัจจุบัน
วัดบางช้างใต้เดิมชื่อ “วัดบางช้าง” พระเถระที่มีชื่อเสียงของวัดบางช้างใต้นี้ ได้แก่ พระครูวินัยธร (ใย กิตฺติธโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 หลักฐานเหล่านี้ได้บันทึกไว้ในหนังสือทางประวัติศาสตร์ชื่อ วัฒนธรรมสามพราน วัดบางช้างใต้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2479 ปัจจุบันมีพระครูอรุณธรรมวิสุทธิ์ เป็นเจ้าอาวาส
ตอนต้นเป็นเรื่องพระอภิธรรม เขียนด้วยอักษรขอมไทย ต่อมาเป็นตารางการดูฤกษ์ต่างๆ ทางโหราศาสตร์
ตอนแรกเป็นโองการอัญเชิญเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ต่อมาเป็นคาถาอาคม เสกผงและเทียน ด้านท้ายมีภาพยันต์
สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)
ตำราเรียนภาษาบาลี กล่าวถึงการเรียกชื่อตัวเลข เช่น 1 คือ ปถม 2 คือ ทุติย เป็นต้น กล่าวถึงวิภัตติแปดหมู่ มีตารางการแจกวิภัตติปัจจัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ